หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.เมืองเชียงใหม่ > ต.ศรีภูมิ > ประเพณีและวัฒนธรรมล้านนาภาคเหนือ
Rating: 5/5 (1 votes)
ประเพณีและวัฒนธรรมล้านนาภาคเหนือ
ประเพณีไทย นั้นหมายถึง ระเบียบแบบแผนที่ใช้กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้คนในสังคมนั้นยึดถือ และปฎิบัติสืบต่อกันมา โดยลักษณะประเพณีในสังคมระดับชาติ จะมีทั้งการประสมกลมกลือไว้เป็นอย่างเดียวกัน และมีที่ผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะของท้องถิ่น แต่โดยภาพรวมย่อมีมีจุดประสงค์ และมีวิธีการปฎิบัติเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่ง หรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น โดยสำหรับประเพณีไทยจะมักมีความเกี่ยวข้องกันกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนา และพราหมณ์มาตั้งแต่โบราณ
วัฒนธรรม นั้นหมายถึง วิถีของการดำเนินชีวิตของคนในสังคมนั้น โดยคนส่วนใหญ่ก็จะมีการปฎิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมนั้นย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขของเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์ หรือการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ วิธีการใหม่ที่ใช้ในการแก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า โดยอาจทำให้สมาชิกของคนในสังคมนั้นเกิดความนิยม และในที่สุดอาจจะเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม ดังนั้น กำดำรง หรือรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิม จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาวัฒนธรรมให้มีความเหมาะสมมีประสิทธิภาพ ตามยุคและสมัย
วัฒนธรรม นั้นอาจจะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ ได้แก่ ปัจจัยสี่
2. วัฒนธรรมทางจิตใจ ได้แก่ ศิลปะ, วรรณคดี, ศาสนา และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ส่งเสริมเรื่องจิตใจ
ประเพณี และวัฒนธรรม นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรง แต่อาจเป็นสิ่งที่สังคน หรือคนในสังคมส่วนรวมที่ร่วมกันสร้างให้มีขึ้น และถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลัษณะ หรือวิธีการต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาของประเพณี และวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาขนเกี่ยวกับเรื่องของความคิดเห็น ความเชื่อ ความรู้สึก ที่สะสม และสืบต่อกันมา จนเกิดความเคยชิน เรียกว่า นิสัยสังคม หรือประเพณี
อาณาจักรล้านนา นั้นในอดีตจะมีความรุ่งเรือง เจริญ ผู้คนมีความสงบสุข ตั้งแต่โบราณ มีความศรัทธาในพุทธศาสนา หล่อหลอมให้เกิดศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม สืบเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยชาวล้านนาได้คงยึดถือหลักธรรม และปรัชญาคำสอนของ พระพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต อย่างสงบสุขตลอดมา
อาณาจักรล้านนา นั้นมีผู้คนอาศัยอยู่หลายชาตพันธุ์ โดยมีความคล้ายคลึกันทั้ง ลักษณะรูปร่าง หน้าตา รวมถึงจารีตประเพณีต่าง ๆ ดังที่มีผู้กล่าวว่าความหลากหลายทางขาติพันธุ์นี่เองก่อให้เกิดความเป็น ล้านนา โดยมีหลายเชื้อชาตพันธุ์ เช่น
1. กลุ่มลั๊วะ เป็นชาวเมืองในกลุ่มมอญเขมร โดยตั้งถิ่นฐานกระจายไปทั่วภาคเหนือถึงเมืองเชียงตุง เมืองยอง และหุบเขาต่าง ๆ โดยชนเผ่าลัวะนั้นมีหลายเผ่า และมีระดับความเจริญที่แตกต่างกันมาก
2. เม็ง เป็นชาติพันธุ์มอญโบราณที่มาตั้งถิ่นฐานในภาคเหนืออย่างยาวนาน
3. ไทยวน เป็นกลุ่มใหญ่ที่ใช้ภาษคำเมือง
4. ไทลื้อ ไทยยอง เชื่อกันว่าจะติดต่อกับกลุ่มชนในพื้นที่มานานก่อนจะอพยพเคลื่อนย้ายเพิ่มมาอีก
5. ไทขึน จะเป็นกลุ่มชนแห่งลุ่มน้ำขืน หรือขนต่างกลุ่ม จะเรียกว่า เขินอยู่ในจังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า
6. ไทใหญ่ ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงไทภูเขาอีกหลายชนเผ่า
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ ภาคเหนือ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าล้านนา เป็นดินแห่งความหลายหลายทางวัฒนธรรม และประเพณี ที่มีเสน่ห์ให้ค้นหาไม่น้อยกว่าภาคอื่น ๆ ของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความน่าหลงไหล ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว, ประวัติศาสตร์ความเป็นมา, ภาษาท้องถิ่น, การแต่งกาย, การละเล่นพื้นบ้าน, อาหารพื้นเมือง, ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ นับเป็นกิจกรรมที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน
หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว