Rating: 2.5/5 (6 votes)
ข้าวควบ ขนมไทยภาคเหนือ
ข้าวควบ ขนมไทยภาคเหนือ หรือข้าวเกรียบว่าว เป็นขนมพื้นบ้านที่มีมาช้านาน มีกล่าวไว้ในวรรณกรรมล้านนา เรื่อง นางอุทรา ว่า นางร้าย คือแม่เลี้ยงนางอุทรา แกล้งป่วย โดยใช้ข้าวควบวางไว้ใต้ที่นอน เมื่อขยับจะเสียงดัง ให้เข้าใจว่ากระดูกนางผิดปกติ
ข้าวควบ ขนมไทยภาคเหนือ เป็นอาหารว่างภาคเหนือชนิดหนึ่ง มีรสชาติเค็มนิด ๆ วิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การทำข้าวแคบ เป็นการนำเอาแผ่นแป้งไปตากแดดให้แห้ง โดยทำให้สุกโดยการปิ้งหรือทอด ในอดีตการทำข้าวควบนิยมทำช่วงฤดูร้อน เพราะในช่วงฤดูร้อนนั้นมีแสงแดดที่ร้อนจัด และเพียงพอที่จะตากข้าวแคบให้แห้ง ได้ภายในวันเดียว แต่ในปัจจุบันอาจมีการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาช่วย เมื่อจะกินก็นำมาพิงไฟ คือเอาไม้ไผ่แบนขนาดเล็ก ยาวประมาณหนึ่งศอก มาผ่าด้านใดด้านหนึ่งให้เป็นไม้คีบ
จากนั้นแล้วนำแผ่นข้าวแคบมาเสียบไว้ จากนั้นจึงนำไปอังบนเตาไฟ ยกให้สูงพอประมาณ แผ่นข้าวแคบก็จะเริ่มสุก และเปลี่ยนสีจากสีใส ๆ เป็นแผ่นข้าวแคบสีขาว และสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น นอกจากวิธีผิงไฟแล้ว ยังสามารถนำไปทอดในน้ำมันก็ได้ เรียกว่า “จื๋นข้าวแคบ” การทอดจะทำให้แผ่นข้าวแคบ ขยายตัวใหญ่กว่าเดิมเกือบเท่าตัว แต่หากเราใช้วิธีการทอด ไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะเมื่ออากาศชื้นจะอ่อนตัว และอาจจะทำให้เหม็นหืนได้
ข้าวควบ ขนมไทย คือข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานแบบข้าวเกรียบว่าว เป็นขนมพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยาวนาน สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่กำลังอยู่ในช่วงอยู่ไฟ จะนิยมกินข้าวแคบข้าวควบเป็นอาหารหลัก เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อรับประทานแล้ว จะไม่เกิดผลข้างเคียงในขณะอยู่ไฟ ข้าวควบนั้นจะมีรสชาติหวาน ผู้ใหญ่มักจะห้าม ไม่ให้เด็กกินข้าวควบมากเกินไป เพราะจะทำให้เจ็บลิ้นได้ เนื่องจากความแห้งของขนมจะดูดลิ้น
ข้าวควบ นั้นมีลักษณะการทำคล้ายกับข้าวแคบ เมื่อจะกิน เราจะนำข้าวควบที่เป็นแผ่นมาพิงไฟคล้ายกับข้าวแคบ แต่เพียงการภิงข้าวควบ จะใช้ไม้ไผ่นำมาทำเป็นรูปร่างคล้ายมือ ใช้ 2 อัน แทนมือซ้ายขวา จากนั้นปิ้งแผ่นข้าวควบโดยพลิกไปมาจนกว่าจะเหลือง อาจต้องใช้ประสบการณ์ และความชำนาญในเวลาปิ้ง เพราะถ้าปิ้งไม่เป็นแผ่น ข้าวควบจะไม่พองขยาย หรือไม่สุก และไหม้ได้ เพราะนอกจากความชำนาญแล้ว การคุมความร้อนของถ่าน ให้ได้ความร้อนที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
ข้าวแคบ ข้าวควบ กับเทศกาลเมือง โดยในอดีตนิยมรับประทานในงานเทศกาลสำคัญ เช่น งานบวชลูกแก้ว, ปี๋ใหม่เมืองเมือง, งานปอยหลวง และงานแต่ง เป็นต้น
ส่วนผสม ข้าวควบ
- ข้าวสารเหนียว 1 ลิตร
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลปี๊บ 500 กรัม
- หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
วิธีทำ (สูตรอาหารเหนือ)
1. ตำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ โดยใช้ครก ตำจนข้าวเหนียวละเอียดเป็นแป้งเหนียว ใช้เวลาโดยประมาณ 20 นาที ใส่น้ำตาลปี๊บเคี่ยวผสมกะทิลงในครกม ตำต่อจนเกิดเป็นเนื้อเดียวกัน
2. จากนั้นต้มไข่ไก่ให้สุก เลือกเฉพาะไข่แดง มาขยี้ผสมกับน้ำมันพืช เพื่อใช้ทามือ และอุปกรณ์ในการทำข้าวควบ เมื่อเสร็จให้นำแผ่นพลาสติกตัดเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว หยิบแป้งประมาณหัวนิ้วโป้ง กดให้แบน โดยใช้วิธีการคลึงแป้งให้เป็นวงกลมด้วยกระบองไม้ คว่ำแผ่นแป้งลงบนแผ่นพลาสติกใหญ่
3. จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งประมาณ 1 ชั่วโมง กลับด้านแป้ง และตากบนไม้ไผ่สาน อีก 1 ชั่วโมง เมื่อเสร็จให้แกะแป้งออก พักไว้ให้เย็น นำมาเรียงซ้อนกันบรรจุในกระติก โดยใช้ใบตองรองด้านล่าง และปิดคลุมด้านบน เก็บไว้เป็นเวลา 1 คืน ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำแผ่นข้าวควบย่างกับเตาถ่าน
ขนมไทย ขนมโบราณ นั้นจะมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ จะมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ โดยวิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน และสีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว