หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.เมืองเชียงใหม่ > ต.ศรีภูมิ > ขนมตาล ขนมไทยโบราณ อาหารว่างภาคเหนือ
Rating: 3.3/5 (4 votes)
ขนมตาล ขนมไทยโบราณ อาหารว่างภาคเหนือ
ขนมตาล ขนมไทยโบราณ อาหารว่างภาคเหนือ หรือเข้าหนมบ่าตาล เป็นขนมไทย มีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอมมาเป็นน้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก และมีการหมักส่วนผสม หลังจากที่นวดส่วนผสมให้เข้ากันแล้ว เพื่อให้แป้งฟู น่ารับประทาน
ขนมไทย ขนมโบราณ นั้นมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ จะมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ โดยวิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน และสีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง
ขนมตาล ขนมไทยโบราณ เนื้อเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม อีกทั้งยังมีความนุ่มฟู จะมีกลิ่นตาลหอมหวาน ปัจจุบันนั้นหาทานรสชาติดี ๆ ได้ยาก เพราะปริมาณการปลูกต้นตาลลดลง ซึ่งขนมตาลที่ขายตามท้องตลาด โดยผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย ๆ และเพิ่มแป้ง เจือสีเหลืองเข้าไปแทน จนทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมอีกทั้งกรรมวิธีการทำก็ยาก
ส่วนผสม โดยในปริมาณ 100-120 ถ้วย หรือกระทง
- แป้งข้าวเจ้า 1 กิโล
- แป้งมัน 2 ขีด
- เนื้อตาลยี ทับน้ำแห้งสนิท 6 ขีด
- เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
- ยีสต์แห้ง 2 ช้อนชา
- ผงฟู 3 ช้อนชา
- กะทิ แบบคั้นแกง 1 กิโล (ใช้หางกะทิด้วย)
- น้ำตาลทราย 8 - 9 ขีด
วิธีการทำ (สูตรอาหารเหนือ)
1. ขั้นตอนแรกนำแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน ยีสต์ เกลือ ผสมรวมกัน แล้วค่อย ๆ จากนั้นใส่หัวกะทิทีละน้อย ค่อย ๆ นวดไปจนเข้ากัน หรือจนกะทิหมด ประมาณ 30 นาที โดยหนึ่งในเคล็ดลับการทำขนมตาล คือ ยิ่งนวดนานยิ่งนิ่ม รอจนแป้งขึ้นเป็นมันร่อนจากภาชนะ
2. ขั้นตอนที่ 2 พอแป้งใช้ได้ทิ้งไว้สัก 15 นาที ค่อยเอาเนื้อตาลมาผสม นวดจนเข้ากันดีจะเริ่มเหลวนิด ๆ
3. ขั้นตอนที่ 3 พอแป้งกับตาลเข้ากันดี ใส่น้ำตาล นวดผสมจนน้ำตาลละลายหมด จากนั้นลองหยดแป้งดูให้เหนียวคล้ายกับทองหยอด คือลองหยดแล้วเป็นลูก คือใช้ได้ พักทิ้งไว้อย่างน้อยๆ 3-4 ชั่วโมง ถ้ากลางคืน 5-6 ชม.
4. พอแป้งขึ้นดี นำผงฟู มาละลายกับหางกะทิประมาณ 3-4 ขีดให้ขึ้นฟองแล้ว จากนั้นเทลงไปคนให้เข้ากัน ทิ้งไว้สัก 10 นาที นำไปนึ่งได้
5. ขั้นตอนเวลาหยอดลงถ้วยหรือกระทงนึ่ง อย่าหยอดทิ้งไว้นานให้ทำซึ้งต่อซึ้ง อย่านึ่งซ้อน นึ่งไฟแรงจัด 10 นาที ไฟกลาง 5 นาที โดยห้ามเปิดฝาเด็ดขาดจนกว่าจะสุก
6. ควรมะพร้าวถ้าใช้มือแมวขูด ควรเคล้าเกลือนิดหน่อยแล้วนึ่งแยกต่างหาก โดยถ้าใช้กระต่ายหรือซื้อมะพร้าวขูดขาวมาให้หยอดลงในหน้าขนมแล้วนึ่งไปพร้อมกันได้เลย
หากทำได้ตามสูตรนี้ รับประกันว่าอร่อย นิ่ม ขึ้นฟู และไม่เปรี้ยวแน่นอน เพราะการที่ขนมเปรี้ยวเกิดจากแป้งขึ้นนานจนเกิน หากขนมแข็งเกิดจากนวดไม่ได้ที่ หรือถ้าขนมไม่ฟูเกิดจากเวลายังไม่พอ เพราะถ้าขึ้นแต่หน้าไม่แตกเกิดจากแป้งใสเกินไป และหากขนมตาลแตกสวย แต่นิ่มแป๊บเดียว เกิดจากการที่แป้งเหนียวจนเกินไป
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ
ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว