Rating: 5/5 (1 votes)
ภาคเหนือในประเทศไทย
ภาคเหนือในประเทศไทย เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของประเทศไทย โดยมีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วยภูเขา หรือเทือกเขาที่มีความสลับซับซ้อน โดยภาคเหนือจะมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ที่ลักษณะเหมือนพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย อยู่เหนือระดับน้ำทะเล และมีละติจูดอยู่ตอนบนส่งผลให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างชัดเจน เช่น หากเข้าสู่ฤดูหนาว ก็จะเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
นอกจากนี้ภาคเหนือยังมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านนา ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า บริเวณพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ซึ่งถูกสถาปนาในปี พ.ศ. 1835 โดยพญามังราย และยุบรวมกันของสองอาณาจักร คือ หริภุญชัย และหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และสถาปนาเมืองหลวงอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
ภูมิประเทศของภาคเหนือ นอกจากภูเขาน้อยใหญ่ที่สลับซับซ้อนยังมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุดเช่น พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยจุดสูงสุดของประเทศอยู่ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคเหนือมีพื้นที่รวมประมาณ 93,690 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่แรกของประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่ผ่านอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เขตแดนของภาคเหนือจะติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาคอื่น ๆ เช่นประเทศพม่า และประเทศลาว เป็นต้น
การปกครองของภาคเหนือ จะแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประเพณี สังคม วัฒนธรรม และภาษา โดยแบ่งเป็น 6 ภูมิภาค ประกอบไปด้วย 17 จังหวัด คือ ภาคเหนือตอนบน (จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดน่าน, จังหวัดพะเยา, จังหวัดแพร่, จังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดลำปาง, จังหวัดลำพูน และจังหวัดอุตรดิตถ์) ภาคเหนือตอนล่าง (จังหวัดจังหวัดตาก, จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี) โดยแบ่งตามลักษณะภูมิภาคตามธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในเขตภูเขา
การขนส่งของภาคเหนือ จะประกอบไปด้วยการขนส่งทางอากาศได้แก่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่, ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย, ท่าอากาศยานน่านนคร, ท่าอากาศยานลำปาง, ท่าอากาศยานแพร่, ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน และท่าอากาศยานปาย ส่วนการขนส่งทางบกประกอบไปด้วย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ลำปาง–งาว–พะเยา–เชียงราย–แม่สาย), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อุตรดิตถ์–เด่นชัย–ลำปาง–ลำพูน–เชียงใหม่) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (สุโขทัย–เด่นชัย–แพร่–น่าน–ด่านพรมแดน), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 (งาว–ร้องกวาง), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (แม่สอด–แม่สะเรียง)
ที่ตั้ง และขอบเขตภาคเหนือ ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและลาว จะมีเทือกเขาแดนลาว แม่น้ำสายและแม่น้ำรวกกั้นเขตแดน, ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ทางตอนใต้สุดของภาคคือ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์, ศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว มีเทือกเขาหลวงพระบางกั้นเขตแดน และทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคืออำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า มีแม่น้ำเมยและแม่น้ำสาละวินกั้นเขตแดน
แผนที่ภาคเหนือของประเทศไทย จะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบเทือกเขาทอดยาวจากทางทิศเหนือลงมาทิศใต้ โดยเทือกเขาที่มีความสำคัญได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัย โดยเป็นเทือกเขาที่มีขนาดใหญ่ และยาวที่สุดของแผนที่ภาคเหนือในประเทศไทย
แม่น้ำสายสำคัญของภาคเหนือในประเทศไทย ประกอบด้วย กลุ่มแม่น้ำโขง เช่น แม่น้ำรวก, แม่น้ำกก, แม่น้ำสาย และแม่น้ำอิง กลุ่มแม่น้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เช่น แม่น้ำปิง, แม่น้ำวัง, แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน สุดท้ายคือกลุ่แม่น้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน เช่น แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม และแม่น้ำปาย
ทรัพยากรธรรมชาติของภาคเหนือในประเทศไทย ทรัพยากรดิน จะมีความสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับต่ำ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นทีสูง และมีความลาดชันมาก มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้หน้าดินพังทลายได้ง่าย ดินที่พบตามแม่น้ำส่วนใหญ่ คือ ดินลานตะพักลำน้ำ เหมาะในการปลูกพืชไร่, ดินอัลลูเวียนจเหมาะในการทำนา เป็นต้น
ส่วนทรัพยากรน้ำ ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด คือกว๊านพะเยา นอกน้ั้นจะประกอบด้วยแม่น้ำสายสั้น ๆ บริเวณภาคเหนือมีการสร้างเขื่อนเพื่อชลประทาน และผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ เขื่อนกิ่วลม กั้นแม่น้ำวัง อยู่ในจังหวัดลำปาง, เขื่อนสิริกิตต์ กั้นแม่น้ำน่าน อยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์, เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อยู่จังหวัดเชียงใหม่ และเขื่อนแก่งเสือเต้นอยู่จังหวัดแพร่ เป็นต้น
ทรัพยากรป่าไม้ จะเป็นป่าไม้สมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะเป็นป่าดิบเขา, ป่าสนเขา และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่ามากที่สุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดที่มีป่าน้อยที่สุด คือ จังหวัดลำพูน ทรัพยากรแร่ธาตุ มีหลายชนิด ได้แก่ ดินขาว พบมากที่จังหวัดลำปาง แร่รัตนชาติ พบมากที่จังหวัดแพร่, ปิโตรเลียม พบมากที่จังหวัดเชียงใหม่, หินน้ำมัน พบมากที่จังหวัดลำพูน, ถ่านหิน พบมากที่จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน, แร่ดีบุก พบมากที่จังหวัดเชียงใหม่, แร่ทังสเตนหรือวุลแฟรม พบมากที่จังหวัดเชียงราย, แร่แมงกานีส พบมากที่จังหวัดลำพูน, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเชียงใหม่ และแร่ฟลูออไรต์ พบมากที่จังหวัดลำพูน
ประชากรของภาคเหนือในประเทศไทย ประชากรมีมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง และภาคใต้ โดยจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา ประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ เช่น กระเหรียง, ม้ง, ลีซอ, มูเซอร์ และเย้า
เศรษฐกิจที่สำคัญในภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เกตรกรรม เช่น การทำสวน, ทำไร่, ทำนา และการเลี้ยงสัตว์ โดยพืชผลที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือ ข้าว, ยาสูบ, กระเทียม และถั่วเหลืองเป็นต้น โดยอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่นิยมทำมากที่สุด คือ การทำร่ม, ไม้แกะสลัก, จักรสาน, เครื่องปั้นดินเผา, ทอผ้า และเครื่องเคลือบ เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีการส่งเสริมต่อเนื่องจากภาครัฐ และเอกชน เนื่องจากมีภูมิประเทศที่สวยงาม, อากาศดี และมีวัตนธรรมประเพณีที่ดีที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ โดยจังหวัดที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ คือ จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่เที่ยวเชียงใหม่ มีอยู่มากมาย และเป็นเอกลักษณ์จึงไม่แปลกที่จะเป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมสูง
อาหารเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และมีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกหนุ่ม และอาหารประเภทแกงอีกหลายชนิด เช่น แกงแค, แกงโฮะ นอกจากนี้ยังมีไส้อั่ว, แหนม, แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศของภาคเหนือนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านของภาคเหนือแตกกต่างจากภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นทำให้อาหารส่วนใหญ่นั้นมีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง, ไส้อั่ว, แกงฮังเล ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่น
ประเพณีภาคเหนือ ที่มีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยในเผ่าต่าง ๆ เช่น ไทยใหญ่, ไทยยวน, ไทยพวน, ไทยลื้อ, ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวน หรือไทยโข่ง, ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ เป็นต้น
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 4 ปีที่แล้ว