Rating: 2.8/5 (5 votes)
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความแตกต่างกันทางทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้รูปแบบอาหาร และการจัดการอาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือของชุมชนแตกต่างกันออกไป ชาวบ้านมักจะหาอาหารจากแหล่งอาหารทางธรรมชาติเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อใช้ในการบริโภคแต่ละวัน เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ โดยนำมาแปรรูปเป็นปลาร้า หรือปลาแห้งเพื่อให้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก โดยอาหารอีสานจะเน้นรสชาติไปทางเผ็ดร้อน
อาหารพื้นบ้านของประเทศไทย
อาหารพื้นบ้านของประเทศไทย อาหารพื้นบ้านไทยมีรสชาติกลมกล่อมอร่อย หลายหลายรสชาติ และยังคงเอกลักษณ์ของภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของคนไทยในแต่ละท้องถิ่นที่คิดค้นปรุงแต่งอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ นับเป็นอาหารที่ได้สมดุลทางโภชนาการ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างชนิดของอาหาร และปริมาณของอาหาร ซึ่งอาหารไทยส่วนใหญ่จะมีข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก อาจะเป็นข้าวเหนียว หรือข้าวเจ้าแล้วแต่ท้องถิ่นนั้น ๆ โดยข้าวที่มีสารอาหาร และวิตามินมากที่สุด คือข้าวซ้อมมือ
อาหารพื้นบ้านไทย ส่วนใหญ่การปรุงจะเป็นการต้น, แกง, ตำ และยำ ซึ่งมีวิธีการปรุงอันเรียบง่าย ใช้เวลาไม่มาก แต่มีความพิถีพิถัน ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารค่อนข้างน้อย มีการใช้เนื้อสัตว์ไม่มาก โดยแหล่งโปรตรีนได้จากปลา, ไข่, หมู และสัตว์อื่นๆ บางชนิดในท้องถิ่น เครื่องปรุงต่าง ๆ จะใช้สมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติ โดยที่สำคัญอาหารพื้นบ้านนานาชนิดที่หาได้ จะนำมาปรุงเป็นอาหาร หรือนำมาทำเป็นเครื่องจิ้มกับอาหารประเภทน้ำพริก หรือประเภทหลนต่าง ๆ อาหารพื้นบ้านของไทยเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่มีเส้นใยอาหารสูง มีคุณค่าทางโภชนา เช่น วิตามิน, เกลือแร่, เอนไซม์กรดไขมัน โดยมีความปลอดภัยจากสารเคมี และยังให้คุณค่าทางสมุนไพร
อาหารภาคเหนือ มีวิถีชีวติผูกพันมากับวัฒนธรรมการปลูกข้าว นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารภาคเหนือนั้นจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือที่มีกริยาสุภาพเรียบร้อย จึงส่งผลต่ออาหาร เช่น ข้าวซอย จะเป็นอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ มีลักษณะคล้ายกับเส้นบะหมี่ น้ำซุปจะเป็นเครื่องแกงที่มีรสชาติจัดจ้าน ในแบบตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยนั้นจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ นิยมรับประทานกับเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง, หอมหัวแดง โดยมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน, น้ำมะนาว, น้ำปลา และน้ำตาล โดยในปัจจุบันจะพิ่มอาหารทะเล หรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ อาหารจานนี้ไม่มีจำหน่ายในต่างประเทศ แต่จะมีแค่ภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความแตกต่างกันทางทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้รูปแบบอาหาร และการจัดการอาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือของชุมชนแตกต่างกันออกไป ชาวบ้านมักจะหาอาหารจากแหล่งอาหารทางธรรมชาติเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อใช้ในการบริโภคแต่ละวัน เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ โดยนำมาแปรรูปเป็นปลาร้า หรือปลาแห้งเพื่อให้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก โดยอาหารอีสานจะเน้นรสชาติไปทางเผ็ดร้อน
อาหารภาคกลาง ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง, แกงกระทิ รวมทั้งยังมีอาหารชั้นสูงของชาววังที่ได้เผยแพร่ออกมาด้วย เช่น ข้าวแช่, ช่อม่วง, กระเช้าสีดา ฯลฯ เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น กระทงทอง, ข้าวเกรียบปากหม้อ และข้าวตัวหน้าตั้ง ฯลฯ
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ เป็นที่รู้กันดีว่าคนภาคใต้เป็นคนพูดเร็ว เดินเร็ว อาหารภาคใต้จึงได้สะท้องลัษณะออกมาโดยมีรสชาติที่เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด อาหารปักษ์ใต้ที่ขึ้นชื่อมาก ๆ เช่น แกงไตปลา, แกงเหลือง, น้ำพริกกุ้งเสียบ, น้ำยาปักษ์ใต้ ฯลฯ อาหารภาคใต้นั้นได้รับอิทธิพลมาจากพวกมาลายู และอินเดีย นิยมรับประทานคู่กับผักสด
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว