หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อาหารภาคเหนือ อาหารเหนือ


เชียงใหม่

อาหารภาคเหนือ อาหารเหนือ

อาหารภาคเหนือ อาหารเหนือ

Share Facebook

Rating: 2.6/5 (155 votes)

อาหารภาคเหนือ ภาคเหนือในอดีตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน โดยในช่วงที่อาณาจักรล้านนาเรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตไปยังเประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว, พม่า และมีทั้งผู้คนจากดินแดนอื่นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานี่อาณาจักรล้านนา จนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากหลากหลายชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวัน ซึ่งรวมถึงเรื่องอาหารการกินอีกด้วย
 
อาหารภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และมีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกหนุ่ม และอาหารประเภทแกงอีกหลายชนิด เช่น แกงแค, แกงโฮะ โดยนอกจากนี้ยังมีไส้อั่ว, แหนม, แคบหมู และผักต่าง ๆ ซึ่งรับประทานคู่กัน
 
สภาพอากาศของภาคเหนือนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านของภาคเหนือแตกกต่างจากภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นทำให้อาหารส่วนใหญ่นั้นมีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง, ไส้อั่ว, แกงฮังเล ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่น
 
นอกจากนี้ที่อยู่อาศัยทางภาคเหนือส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบหุบเขา และบนที่สูงใกล้แหล่งธรรมชาติ เช่น ภูเขา, ป่าไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงนิยมเอา พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค, หยวกกล้วย, บอน และผักหวาน เป็นต้น ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้านภาคเหนือในชื่อต่าง ๆ เช่น แกงหยวกกล้วย, แกงบอน และแกงแค เป็นต้น
 
อาหารภาคเหนือ แทบทุกชนิดจะนิยมรับประทานคู่กับข้าวเหนียว หรือข้าวนึ่งใส่กระติ๊บ โดยอาหารทั้งหมดจะถูกนำไปวางบนขันโตก ซึ่งเป็นภาชนะที่ใส่อาหารที่ทำจากไม้สักกลึงจนได้รูป และขนาดพอดีกับการนั่งรับประทานอาหารบนพื้นบ้าน อาหารเหนือนั้นได้รับการยกย่องมีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับทั้งในคนไทย และชาวต่างชาติ อาหารของภาคเหนือ เนื่องจากมีกรรมวิธีการปรุงแต่ง ที่มีความหลากหลาย วัตถุดิบจากพื้นบ้าน และสามารถดัดแปลงได้ตามความชอบของคนในพื้นที่
 
วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนภาคเหนือ
 
วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนภาคเหนือ นั้นจะนิยมรับประทานพืช โดยเป็นผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจเป็นผักป่า หรือผักข้างรั้ว โดยมากจะรับประทานกับข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ซึ่งมักจะนิยมปรุงอาหารโดยไม่ใส่น้ำตาล โดยมีรสเค็มนำ และรสเผ็ดเล็กน้อย ซึ่งใช้กระทิในการปรุงอาหารน้อยกว่าภาคกลาง โดยนิยมรับประทานน้ำพริก แกงแบบน้ำขลุกขลิก ปั้นข้าวเหนียวแล้วจิ้มลงไปในน้ำแกง 
 
การจัดสำรับอาหาร จัดใส่ขันโตก หรือโก๊วะข้าว ประเพณีภาคเหนือคือมักจะให้ผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโสที่สุดในบ้านรับประทานอาหารเป็นคนแรก จากนั้น ลูก ๆ หรือผู้ที่อายุน้อยค่อยลงมือรับประทานต่อ ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่นิยมมาแต่โบราณ
 
เมนูอาหารเหนือนั้น นั้นเป็นเมนูอาหารยอดนิยมที่แพร่หลายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยประเภทของอาหารเหนือนั้น จะแบ่งได้หลากหลาย เช่น เจียว, ตำ/ยำ, น้ำพริก, แกง, คั่ว, เคี่ยว, จอ, นึ่ง, ปิ้ง/ย่าง/ทอด, มอบ, หมักดอง, อ็อก, ลาบ/หลู้, ส้า, อุ๊ก/ฮุ่ม, แอ็บ โดยรวมถึงขนมไทย และอาหารว่างภาคเหนือ
 
อาหารเหนือกับอาหารอีสาน ประเพณีภาคอีสาน และประเพณีภาคเหนือ หลายคนอาจสงสัยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร จริง ๆ แล้วอาหารทั้งสองภาคนั้นมีความใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันคือ วัตถุดิบของอาหาร โดยอาหารเหนือโดยส่วนมากจะเน้นใช้เครื่องเทศ แต่อาหารอีสานจะใช้น้ำปลาร้า แต่อย่างไรก็ตามอาหารทั้งสองภาคยังใช้ข้าวเหนียวในการรับประทานคู่กัน อย่างไรก็ตามเมื่ออาหารเหนือกระจาย และเป็นที่นิยมมากขึ้น เราก็อาจจะเป็นอาหารเหนือที่นำมาประยุกต์ในหลายภาค ทำให้เกิดอาหารเหนือแปลก ๆ และอาหารพื้นบ้านใหม่ ๆ มากมาย
 
อาหารภาคเหนือ มีความพิเศษคือการผสมผสานประเพณีไทย และวัฒนธรรมการกินจากหลายชนกลุ่ม เช่น ไทลื้อ, ไทยใหญ่, จีนฮ่อ และคนพื้นเมือง จึงออกมาเป็นสูตรอาหารเหนือมากมาย เช่น
 
แกงอ่อม 

 1. แกงอ่อม เป็นอาหารยอดฮิต และอาหารเหนือยอดนิยม อีกอย่างหนึ่งในบรรดาอาหารเหนือทั้งหลาย โดยเฉพาะโอกาสพิเศษในงานเลี้ยงเทศกาลต่าง ๆ โดยแกงอ่อมเป็นแกงที่สามารถใช้เนื้อได้ทุกประเภท เช่น เนื้อไก่, เนื้อวัว และเนื้อกระบือ
 
ข้าวซอย 

2. ข้าวซอย อาหารเหนือที่มาจากอาหารของกลุ่มชนไทลื้อ ที่นำมาเผยแพร่ในภาคหนือ หรือล้านนา ตามตำหรับเดิมจะใช้พริกป่นผัด และโรยหน้าด้วยน้ำมัน เมื่อมาเข้าสู่ครัวไทยอาหารเหนือชนิดนี้ก็ถูกประยุกต์มาใช้พริกแกงคั่วใส่กะทิลงไป และเคี่ยวให้ข้น จากนั้นราดบนเส้นบะหมี่ ใส่เนื้อไก่ หรือเนื้อวัว กินกับผักกาดดอง โดยใช้หอมแดงเป็นเครื่องเคียง
 
แกงโฮะ 

3. แกงโฮะ เป็นอาหารภาคเหนือที่มีจุดเด่นคือการที่เอาอาหารหลากหลายมารวมกัน เป็นอาหารเหนือที่นิยมแพร่หลาย และมีขายในแทบทุกร้านอาหารพื้นเมืองในภาคเหนือ
 
ขนมจีนน้ำเงี้ยว 

4. ขนมจีนน้ำเงี้ยว อาหารภาคเหนือที่แต่เดิมเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทใหญ่ เดิมใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นหลัก ต่อมาคนพื้นเมืองในภาคเหนือมาดัดแปลงใช้เส้นขนมจีนแทน โดยจะรับประทานกับถั่วงอก และผักกาดดอง เพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อยยิ่งขึ้น
 
แกงฮังเล 

5. แกงฮังเล เป็นอาหารภาคเหนือที่เป็นอาหารพื้นบ้านของชายไทใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งคาดว่าอาหารเหนือชนิดนี้ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า ในอดีต เป็นแกงที่ทำง่าย ใส่พริกแห้ง แล้วตามด้วยผงแกงฮังเล มะเขือเทศ และเนื้อ จากนั้นนำมาผัดรวมกัน
 
น้ำพริกอ่อง 

6. น้ำพริกอ่อง เป็นอาหารภาคเหนือขึ้นชื่อ โดยมีลักษณะเด่น คือ เป็นน้ำพริกที่มีสีส้มของมะเขือเทศ และพริกแห้ง โดยการรับประทานน้ำพริกอ่องนิยมทานคู่กับผัก เช่น มะเขือเปราะ, ผักกาดขาว, แตงกวา หรือถั่วฝักยาว เป็นต้น
 
น้ำพริกหนุ่ม 

7. น้ำพริกหนุ่ม อาหารภาคเหนือ ที่มีรสเผ็ด นิยมรับประทานกับแคบหมู หรือผักพื้นบ้าน ทั้งผัดสด, ผักต้ม หรือลวก พริกหนุ่มเป็นพริกที่ลักษณะเมล็ดจะยาวเรียว มีสีเขียวอมเหลือง มีรสเผ็ด นิยมปลูกในภาคเหนือ น้ำพริกหนุ่มจะมีลักษณะน เปียกเป็นเส้นของเนื้อพริกย่าง มีกลิ่นหอม โขลกรวมกับหอมแดงย่าง กระเที่ยมย่าง มะเขือเทศสีดา และเครื่องปรุงอื่น ๆ ปรุงตามรสเผ็ด เค็ม หวานตามชอบ
 
ไส้อั่ว 

8. ไส้อั่ว เป็นอาหารภาคเหนือ ประเภทย่าง และรมควัน ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานเล่นกับข้าวเหนียว เครื่องเคียงจะเป็น พริกขี้หนูสด, หอมแดง และมะนาว ไส้อั่วเป็นอาหารเหนือที่มีรสชาติอร่อยเข้มข้นเผ็ดเล็กน้อย วัตถุดิบทำจากเนื้อหมูสับผสมกับพริกแกงคั่ว ปรุงรสเค็มนำ มีกลิ่นหอมของใบมะกรูด เป็นอาหารเหนือที่ถือได้ว่าเป็นไส้กรอกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะขดเป็นวงกลมลักษณะคล้ายก้นหอย ซ้อนกันเป็นวงกลม
 
แกงแค 

9. แกงแค เป็นอาหารภาคเหนือที่ในสมัยก่อนคนโบราณมักจะปรุงแกงแคด้วยผัก และเนื้อสัตว์หลายชนิดผสมรวมกัน แต่ปัจจุบันนิยมเลือกใช้เนื้อสัตว์เพียงหนึ่งชนิด ส่วนผักที่เลือกใช้ได้แก่ ชะอม, หน่อไม้ และใบชะพลู
 
จิ้นปิ้ง ตับปิ้ง 

10. จิ้นปิ้ง ตับปิ้ง เป็นอาหารภาคเหนือประเภทปิ้งย่าง นิยมใช้ เนื้อวัว, เนื้อหมู, ตับวัว หรือตับหมู โดยนำมาหั่น และและเป็นชิ้นใหญ่ หมักกับเครื่องปรุงรส จากนั้นนำไปปิ้ง หรือย่าง โดยใช้ไม้ไผ่เสียบ ปิ้งจนสุก และรับประทานคู่กับน้ำพริกต่าง ๆ
 
แกงขนุนอ่อน 

11. แกงขนุนอ่อน เป็นอาหารภาคเหนือที่คนภาคเหนือจะนิยมเรียกว่า บะหนุน หรือ บ่าหนุน รับประทานได้ตั้งแต่ยอดอ่อน ใบอ่อน เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ขนุนอ่อนลูกเล็กจะนำมาแกงขนุน โดยใส่ซี่โครงหมู, เนื้อหมู, น้ำพริกแกง และมะเขือส้ม มีรสเปรี้ยว เค็ม
 
ข้าวกั้นจิ้น หรือจิ้มส้มเงี้ยว 

12. ข้าวกั้นจิ้น หรือจิ้มส้มเงี้ยว เป็นอาหารภาคเหนือของชาวไทใหญ่ มักจะรับประทานคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยว มีส่วนผสมของข้าวสุก คลุกเคล้ากับน้ำเลือด, เกลือ และหมูสับ จากนั้นนำไปห่อใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยมมัดด้วยเชือก จากนั้นนำไปนึ่งจนสุก โรยด้วยกระเทียมเจียว, หอมซอย, มะนาว และพริกทอด
 
น้ำพริกปลาจี่ 

13. น้ำพริกปลาจี่ เป็นอาหารภาคเหนือ ที่ถือเป็นอาหารพื้นบ้าน วัตถุดิบใช้ปลาดุกย่าง โขลกรวมกับพริกชี้ฟ้า, หอม และกระเทียงเผา แล้วใส่มะกอกพร้อมกับเครื่องปรุงรสอื่น ๆ นิยมรับประทานกับผักนึ่ง เช่น มะเขือยาว, หน่อไม้, ถั่วฝักยาว และมะลิดไม้
 
น้ำพริกกระเทียม 

14. น้ำพริกกระเทียม เป็นอาหารภาคเหนือที่นิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อน โดยนำเอาพริกหนุ่งเผา, กระเทียมเผา โขลกรวมกับกะปิเผา ปรุงรสเผ็ด เค็ม และรับประทานกับผักสด, ผักนึ่ง และไข่ต้ม 
 
จิ๊นตุ๊บ 

15. จิ๊นตุ๊บ เมนูอาหารเหนือ จุดเด่น คือน้ำเนื้อวัวโขลก แล้วมาทุบ วัตถุดิบทำจากเนื้อวัวหมักกับน้ำปลา เครื่องเทศ และเกลือ จากนั้นนำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อน ๆ จนสุก และแห้ง จากนั้นนำมาทุบ จนเนื้อออกมาเป็นเส้น ๆ มีรสชาติเผ็ด เค็ม แทรกเข้าไปในเนื้อ และน้ำจิ้มที่ทำจากหอมแดงสับ เป็นอาหารภาคเหนือที่ การย่างเนื้อต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง เพื่อให้ได้เนื้อที่มีความแน่น แห้งสนิท และมีกลิ่นหอม
 
ลาบหมูคั่ว 

16. ลาบหมูคั่ว อาหารภาคเหนือ ที่ใส่สมุนไพร และมีความหอมโดดเด่นจากข้าวคั่ว ซึ่งจะต่างจากลาบหมูคั่วทางภาคอีสาน เนื่องจากลาบเหนือ จะใส่สมุนไพรไม่มาก ไม่มีรสเปรี้ยว และจะเน้นเนื้อสัตว์สับ แล้วเอามาปรุงรสด้วยเครื่องเทศแห้งเฉพาะของภาคเหนือ ทำให้ได้กลิ่นหอม และให้ความรู้สึกชาที่ลิ้น นอกจากนี้ยังใส่มะเขือเทศเชอรี่เพิ่มเข้าไปเพื่อให้มีรสชาติที่เปรี้ยวเล็กน้อย เป็นอาหารเหนือที่แปลกแต่มีความลงตัวมาก ๆ
 
หมูพันปี 

17. หมูพันปี เมนูอาหารเหนือที่รวบรวมเอา เนื้อหมูสามชั้น, ผักดอง และใบชาอูหลง วางทับซ้อนกัน และนึ่งเป็นเวลาถึง 4 ชั่วโมง เป็นอาหารเหนือที่ได้รับอิทธิพลมาจากผู้อบพยพชาวจีน ที่มาอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย หมูพันปีนิยมกินคู่กับขนมปังนึ่ง นอกจากจะได้รสชาติเปรี้ยวของผักดอง เนื้อหมูนึ่งจะมีกลิ่นหอด และรสชาติหวานมัน มีรสขมเล็กน้อยจากใบชาอูหลง เป็นอาหารเหนือที่ใช้เวลาทำค่อนข้างนาน
 
เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบ 

18. เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบ อาหารเหนือประเภทแกง เป็นแกงเห็นเผาะใบมะขามอ่อนใส่ น้ำซุปกระดูกหมู แล้วปรุงให้รสเปรี้ยวเผ็ดตามชอบ
 
ยำหน่อไม้ 

19. ยำหน่อไม้ อาหารภาคเหนือ นิยมใช้หน่อไม้ไร่ ต้นจนสุก มีรสหวาน เมื่อนำมายำกับเครื่องปรุง นิยมใส่น้ำปู, ใบขิงหั่น หรือไหล ลงไปต้ม จากนั้นนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง
 
กระบอง 

20. กระบอง อาหารภาคเหนือประเภททอด ลักษณะเป็นผักชุบแป้งทอด จนกรอบนอก นุ่มใน มีรสชาติเผ็ดเพียงเล็กน้อยจากพริกแกงที่ผสมในแป้ง นิยมใช้ฟักทอง, มะละกอ, หัวปลี หรือหัวหอม เป็นวัตถุดิบ
 
อ่องปูนา 

21. อ่องปูนา อาหารภาคเหนือ เมนูอาหารเหนือที่หารับประทานได้ค่อนข้างยาก ความพิเศษของเมนูนี้คือ จะใช้มันปูที่ปรุงรสแล้วใส่ลงไปในกระดองปู จากนั้นนำไปย่างให้สุก นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว รสชาติกลมกล่อมหอมมัน
 
ถั่วเน่าเมอะ 

22. ถั่วเน่าเมอะ อาหารเหนือแปลก ๆ อาหารภาคเหนือสุดแปลกสไตล์ล้านนา กรรมวิธีการปรุงนำถั่วเหลืองมาต้มจนเปื่อยแล้วหมักไว้ประมาณ 3 วัน ให้ขึ้นราเล็กน้อย จากนั้นมาโขลกให้ละเอียด เช่นเดียวกับถั่วเน่าแข็บ แต่ถั่วเน่าเมอะ เป็นการนำถั่วเหลืองต้อเปื่อยโขลก แล้วมาห่อใบตอง ย่างไฟอ่อน ๆ อาจนำมานึ่งก็ได้ นิยมรับประทานกับพริกหนุ่ม บางสูตรจะใส่ไข่ผสมลงไปด้วยก่อนนำไปย่างไฟ ถั่วเน่าเมอะที่ย่างแล้ว จะนำไปคั่ว หรือตำน้ำพริกก็ได้ จะเรียกว่า น้ำพริกถั่วเน่าเมอะ
 
จอผักกาด 

23. จอผักกาด อาหารภาคเหนือ ที่ใช้ผักกาดกวางตุ้งเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุง เรียกว่า ผักกาดจ้อน หรือผักกาดดอก กรรมวิธีปรุงด้วย เกลือ, กะปิ หรือปลาร้า ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก หรือน้ำมะขามสด ใส่กระดูกหมู่ บางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อยลงไปด้วย และบางสูตรก็นำถั่วเน่ามาใส่ รับประทานกับพริกแห้งทอด
 
จิ๊นฮุ่ม 

24. จิ๊นฮุ่ม ฮุ่มนั้นเป็นการนำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ค่อนข้างเหนียว เช่น เนื้อวัว, เนื้อไก่ หรือเนื้อเค็มตากแห้ง ซึ่งมีวิธีปรุงอย่างแกง เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ให้เนื้อสัตว์เปื่อย และจะเหลือน้ำเพียงเล็กน้อย ซึ่งการนึ่งอาจใช้เวลานานถึง 2 ชั่วโมง
 
ข้าวซอยน้ำหน้า 

25. ข้าวซอยน้ำหน้า อาหารภาคเหนือ ข้าวซอยน้ำหน้า เป็นอาหารภาคเหนือประจำถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบหลักเป็นเส้นข้าวซอย และเครื่องปรุง เช่น หมูบด, พริกแห้ง, กระเทียม, เกลือ, หอมแดง และถั่วเน่าแผ่น เมนูนี้เป็นเมนูอาหารพื้นบ้าน ที่มีความแตกต่างจากข้าวซอยทั่วไป คือ ข้าวซอยน้ำหน้าจะไม่ใช่แกงกะทิ เพราะไม่มีพริกแกง แต่จะเป็นลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวน้ำซุปใส แล้วนำมาราดด้วยหมูสับ ที่จะนำไปเคี่ยวกับเครื่องปรุง คนภาคเหนือมักจะเรียกว่า จิ๊นคั่ว เป็นเนื้อหมูที่นำมาคั่วกับเครื่องแกง และถั่วเน่า
 
ส้าจิ๊น 

26. ส้าจิ๊น เป็นอาหารภาคเหนือที่คนในแถบภาคเหนือรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทานกันมาอย่างยาวนาน ส้าจิ๊น มีส่วนผสมหลักคือ เนื้อวัว, เนื้อควายสด และเครื่องใน โดยนิยมนำมาต้มก่อนปรุงเป็นอาหารเหนือที่นิยมทำเพื่อนำมาเลื้ยงแขกตอนดึก หรือเช้าตรู่ ส้าจิ๊นที่ทำตอนดึก เรียกกันว่า ส้าดึก
 
พริกหยวกยัดไส้ 

27. พริกหยวกยัดไส้ เมนูอาหารเหนือที่สามารถนำมาประยุกต์กินกับเมนูอาหารเหนือได้หลากหลายเมนู ความเข้ากันอย่างลงตัวระหว่างพริกหยวก และหมูสับทรงเครื่องที่นำไปย่าง จนมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
 
แกงเห็ดเผาะ 

28. แกงเห็ดเผาะ เมนูอาหารเหนือที่เมื่อก่อนนั้นวัตถุดิบหายากมาก เป็นเห็ดป่าซึ่งสามารถหาได้แค่หน้าฝน แต่ตอนนี้มีเห็ดเผาะกระป๋องจำหน่ายแล้วทำให้เมนูอาหารเหนือนี้สามารถนำมาทำรับประทานเองได้ตลอดทั้งปี เป็นอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ แกงจะมีรสชาติเปรี้ยวนำจากใบมะขาม และเห็ดเผาะที่เข้ากันอย่างลงตัว
 
แหนมหมกไข่ 

29. แหนมหมกไข่ อาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเหนือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แหนมหมกไข่ (จิ้นส้มหมกไข่) เป็นอาหารเหนือที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย แต่มีความใกล้เคียงกับแหนมผัดไข่ โดยวิธีการทำแสนง่ายแทบจะไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่ม เพราะอาศัยวัตถุดิบหลักเพียง 2 อย่าง คือ แหนม และไข่ ความสดของไข่, แหนม และความหอมของใบตอง ที่ได้รับความร้อนจากการปิ้ง หรือการอบ นิยมทานกับข้าวสวยหุงสุก โดยอาจรับประทานกับเครื่องเคียงเช่น พริกแดง
 
น้ำพริกเห็ดหล่ม 

30. น้ำพริกเห็ดหล่ม อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะแห้ง และข้น พริกที่นิยมใช้ คือ พริกชี้ฟ้า เห็ดหล่มเป็นเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีกลิ่นค่อนข้างเฉพาะตัว ลักษณะดอกสีออกคล้ำ ๆ นำมาตากแดด และห่อด้วยใบตอง จากนั้นย่างไฟให้สุก จนมีกลิ่นหอมคล้ายกับหอมเจียว หรือกากหมู นับเป็นเมนูอาหารเหนือที่หารับประทานได้ยากเมนูหนึ่ง
 
ต้มยำปลาทูพริกลาบเหนือ 

31. ต้มยำปลาทูพริกลาบเหนือ วิธีทำจะไม่ยุ่งยากเหมือนอาหารพื้นบ้านภาคเหนืออื่น ๆ ต้มปลาทูกับ ข่า, ตะไคร้ และหอมแดง แกะก้างออก แยกเนื้อออกมา ทำเครื่องเทศลาบคั่ว พริกแห้งย่างไฟ เกลือ หอมแดง และกระเทียม ตำให้เข้ากัน ตักปลาทูใส่หม้อตั้งให้เดือด
 
ยำฮกงัว 

32. ยำฮกงัว อาหารรสเลิศของชาวล้านนา ฮก หมายถึง รกความยที่เพิ่งคลอดลูกออกมาใหม่ ๆ โดยจะนำไปยำ มีวิธีการทำคล้ายลาบควายแต่จะมีการต้มหรือปรุงให้สุกก่อนรับประทาน นิยมรับประทานกับผักสดประเภทต่าง ๆ
 
ส้าแตงกว่า หรือส้าบ่าแตง 

33. ส้าแตงกว่า หรือส้าบ่าแตง อาหารเหนือที่มีวัตถุดิบหลัก คือ แตงกวา หรือแตงร้าน นั่นคือยำแตงกวานั่นเอง โรยหน้าด้วยผักชีต้นหอม และงาดำคั่ว
 
น้ำพริกมะเขือยาว 

34. น้ำพริกมะเขือยาว เป็นหนึ่งในอาหารอาหารเหนือที่ขาดไม่ได้ เครื่องจิ้มที่ชูรสของไทย นำเอามะเขือยาว ที่อุดมไปด้วยสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายนำมาโขลกพร้อม พริกคั่ว และกระเทียม จากนั้นปรุงรสคลุกเคล้าจนเข้ากัน นิยมรับประทานคู่กับผักสด และผักลวก
 
น้ำพริกแมงมัน 

35. น้ำพริกแมงมัน อาหารภาคเหนือ ตามฤดูกาลที่หารับประทานยาก และมีราคาแพง วัตถุดิบหายากที่เรียกว่า แมงมัน เป็นมดมีปีกชินดหนึ่ง ตัวเล็ก สีนวล อาศัยอยู่ใต้โพรงดินทั้งตัวผู้ และตัวเมีย จะมีไข่ โดยชาวล้านนาจะเรียกว่า เต้งแมงมัน จะมีในช่วงเดือน พฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายน โดยนิยมกิน แมงมันตัวเมีย เพราะจะมีรสชาติหวานมัน อร่อย เพราะแมงมันตัวผู้จะมีรสชาติขมกว่า น้ำพริกแมงมันจึงเป็นอาหารเหนือตามฤดูกาล ที่เป็นวัตถุดิบที่หาได้จากธรรมชาติ นิยมรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ หรือข้าวเหนียว เครื่องเคียง ได้แก่ ชะอม, ถั่วฝักยาว และตำลึง ที่เป็นผักแตกยอดในฤดูฝน รสชาติออกมัน ๆ เผ็ด ๆ และเค็ม กลมกล่อม
 
น้ำพริกน้ำปู 

36. น้ำพริกน้ำปู อาหารภาคเหนือ น้ำปู หรือ น้ำปู๋ อาหารเหนือที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในภาคเหนือ ที่ต้องการถนอมอาหารเพื่อรักษาไว้รับประทานได้เป็นระยะเวลานาน ๆ การทำน้ำปู ต้องอาศัยความอดทน ตั้งแต่ต้องไปจับปูนาในช่วงฤดูฝนมาดองกับสมุนไพร เคี่ยวจนเข้มข้น จึงนับเป็นแหล่งแคลเซียม และโปรตีน ซึ่งอยู่ในรูปแบบสารอาหารเข้มข้น ที่สามารถจะเก็บไว้รับประทานได้ตลอดทั้งปี สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่งเช่น น้ำพริกปูใส่แกงหน่อไม้, ตำส้มโอ และหน่อมไม้ส้มตำมะละกอ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีไขบางบางชนิดค่อนข้างสูง การรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจจะทำให้ง่วง หรือหาวเรอ น้ำปูที่มีชื่อเสียงได้แก่ น้ำปูจากอำเภอแจ้ห่ม และน้ำปูจากจังหวัดพะเยาว์
 
ก๋วยเตี๋ยวหลอดน้ำพริกอ่อง 

37. ก๋วยเตี๋ยวหลอดน้ำพริกอ่อง อาหารไทยสุดประยุกต์จากภาคเหนือ รสชาติเค็มเผ็ดชัดเจนแบบกุ้ยช่าย ไส้หน่อไม้ และถั่วงอก
 
 
38. แกงกระด้าง อาหารภาคเหนือ อาหารพื้นบ้าน เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวเหนือ หรือชาวล้านนา นิยมใช้ขาหมูเป็นส่วนประกอบในการปรุงเนื่องจากมีเอ็นอยู่จำนวนมาก ดังนั้นเมื่อนำมาประกอบอาหารจะทำให้แกงข้นขึ้น ในปัจจุบันจะมีการเติมผงวุ้นลงไป ทำให้แกงกระด้างได้ดี และรวดเร็วขึ้น 
 
แกงกระด้าง อาหารเหนือสมัยก่อนจะนิยมรับประทานในฤดูหนาว แต่ปัจจุบันนั้นการปรุงเมนูอาหารเหนือนี้มีความทันสมัยใช้ผงวุ้นเย็นในการเร่งการจับตัว ทำให้ให้สามารถหาเมนูอาหารเหนือนี้ได้ทุกฤดูกาล
 
แกงผักกูด อาหารภาคเหนือ อาหารพื้นบ้าน

39. แกงผักกูด อาหารภาคเหนือ อาหารพื้นบ้าน ผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือนิยมนำมาปรุงอาหาร ผักกูด เป็นผักชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเฟิร์น ชอบอยู่ในที่ชุ่มเย็นริมห้วยในป่า ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ ยอดอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ ชาวบ้านภาคเหนือนิยมนำมาทำแกงส้มใส่ปลาใส่น้ำมะกรูดลงไป นอกจากยังมาทำเป็นอาหารได้แล้วนั้น มันยังเป็นสมุนไพรอีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่า และมักจะพบพวกมันมากในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงเจริญเติมโตได้ดีที่สุด ส่วนของผักกูดที่นิยมนำมาใช้กันมากที่สุดคือ ส่วนใบ และยอดอ่อน นับเป็นอาหารเหนือยอดฮิตของจังหวัดเชียงใหม่
 
แอ็บอ่องออ อาหารเหนือแปลกๆ
 
40. แอ็บอ่องออ อาหารเหนือแปลกๆ แอ็บอ่องออ หรือแอ็บสมองหมู อาหารพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่นเป็นอาหารที่ปรุงด้วยการนำสมองหมูสด จากนั้นนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับ แอ็บปลา, แอ็บหมู  และแอ็บกุ้ง โดยจะทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อน ๆ จนข้างในสุก
 
น้ำพริกอีเก๋ อาหารเหนืออร่อยๆ ที่ไม่ควรพลาด
 
41. น้ำพริกอีเก๋ อาหารเหนืออร่อยๆ ที่ไม่ควรพลาด เป็นเมนูอาหารเหนือที่รู้จักกันดีของชาวเหนือ วิธีการปรุงก็จะแตกต่างตามความชอบของแต่ละคน เป็นอาหารพื้นบ้านส่วนวัตถุหลักที่ต้องมีคือมะเขือขื่นกับแคบหมู วัตถุดิบเอกลักษณ์ของชาวล้านนา น้ำพริกอี่เก๋ เรียกอีกอย่างว่า น้ำพริกอี่เก เป็นน้ำพริกที่มีน้ำขลุกขลิก ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ ใช้พริกชี้ฟ้าสีแดง หรือพริกขี้หนูแก่สีแดงก็ได้ 
 
น้ำพริกอี่เก๋ นั้นนับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านทางเหนือที่มีน้ำขลุกขลิก โดยเป็นเมนูอาหารเหนือที่ทำง่าย ๆ รสชาติแซบ ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกขี้หนูแก่สีแดง กับมะเขือขื่น สีเหลืองสวยสด ซึ่งทานแล้วมีประโยชน์ โดยใครชอบทานผักลวกหรือผักสดเตรียมล้างผักไว้รอได้เลย เสิร์ฟเป็นผักจิ้มอร่อยเข้ากัน ทำให้ยิ่งทานกับแคบหมู และข้าวเหนียวร้อน ๆ ค่อนข้างลงตัว
 
ลาบดิบ เมนูอาหารเหนือ
 
42. ลาบดิบ เมนูอาหารเหนือ นับเป็นอาหารของภาคเหนือที่ได้รับความนิยมทั้งภาคเหนือ และภาคอีสาน ส่วนผสมคล้ายกับลาบ แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือจะใช้เนื้อดิบที่นำมาบด หรือสับ อีกทั้งยังมีเครื่องใน และเลือดปนอยู่ด้วย ดังนั้นการปรุงอาหารจานนี้ต้องทำให้ถูกสุขลักษณะอนามัยเท่านั้น นับเป็นอาหารพื้นบ้านสำหรับใครที่อยากเปลี่ยนรสชาติก็ลองรับประทานดูแล้วจะติดใจ

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(34)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)