Rating: 2.3/5 (295 votes)
กระบอง เป็นอาหารว่างภาคเหนือ หรือของกินเล่นชนิดหนึ่ง นิยมใช้ฟักทองในการปรุง นอกจากฟักทอง อาจใช้หัวปลี มะละกอ น้ำเต้าอ่อน ปลาตัวเล็ก หรือกุ้งฝอย มาทอดกับน้ำแป้งข้าวเจ้า สผมกะทิ น้ำตาล เกลือ และมะพร้าวขูด ถ้าอยากให้กระบองมีรสชาติ ใส่น้ำพริกแกงเผ็ดลงไปนิดหน่อย ของกินลักษณะนี้ ชาวไทใหญ่เรียกว่า ข่างปอง คือการนำเอาผักหลายชนิด เช่น มะละกอดิบ หอม หัวปลี หั่น แล้วคลุกเคล้ากับกะปิ พริกป่น ตะไคร้ เกลือ และแป้ง แล้วนำไปทอดกรอบ
การห่อเหมื้ยง เป็นอาหารว่างภาคเหนือ ก่อนที่นำเหมี้ยงไปรับประทาน หรือใช้เลี้ยงแขก ชาวล้านนาจะนำเหมี้ยงไปห่อใบตองก่อน โดย 1 ห่อ บรรจุเหมี้ยงพอคำ และนิยมใส่ขิงอ่อนดอง และเกลือลงไปด้วย เพื่อเพิ่มรสชาติให้แก่เหมี้ยง
ก๋วยเตี๋ยวผัด เป็นอาหารว่างภาคเหนือ หรือของกินเล่นชนิดหนึ่ง นิยมขายโดยทั่วไปในงานเทศกาล งานบุญ งานฤดูหนาว
ขนมกนน้ำอ้อย หรือเข้าหนมกนน้ำอ้อย อาหารว่างภาคเหนือ ขนมไทย มีวิธีการทำเหมือนกับขนมเกลือ มีส่วนผสมหลักคือ น้ำอ้อย และมีมะพร้าวทึนทึกขูด และน้ำใบเตย เพิ่มรสชาติให้มีความหวานมันและกลิ่นหอม
ขนมกล้วย ขนมไทย หรือเข้าหนมกล้วย อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีกล้วยน้ำว้าสุกงอม แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาลทราย นำมาคลุกเคล้าและนวดให้เข้ากัน
ขนมตาล ขนมไทย หรือเข้าหนมบ่าตาล อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทย มีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอมมาเป็นน้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก และมีการหมักส่วนผสม หลังจากที่นวดส่วนผสมให้เข้ากันแล้ว เพื่อให้แป้งฟู น่ารับประทาน
ขนมฟักทอง ขนมไทย หรือเข้าหนมบ่าฟักแก้ว อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีฟักทองนึ่ง แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาลทราย วิธีการคล้ายกับขนมกล้วย เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้า เป็นฟักทองนึ่งแทน
ขนมมันสำปะหลัง ขนมไทย หรือเข้าหนมมันต้าง อาหารของภาคเหนือ เป็นขนมไทยที่มักพบขายทั่วไปตามท้องตลาดในภาคเหนือ ใช้มันสำปะหลังโม่ให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลและเกลือ จากนั้นนำใส่ถาดนึ่ง พอสุกจะมีสีเหลืองและเป็นแป้งใสๆ ทิ้งไว้ให้เย็น ตัดเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด
ขนมลิ้นหมา ขนมไทย อาหารประจำภาคเหนือ เป็นขนมไทยที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียวดำนวดกับน้ำจนหนืดแต่ไม่เละ เติมเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อย บ้างใช้แป้งข้าวเหนียวสีขาวนวดกับน้ำอ้อยและเกลือให้มีรสหวานๆ เค็มๆ นำมะพร้าวขูดคลุกกับน้ำตาลทราย ช่วยให้ขนมอร่อย และน่ารับประทาน
ข้าววิตู อาหารว่างภาคเหนือ หรือข้าวเหนียวแดง อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทยวิธีการทำนำข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปตั้งไฟผสมกับน้ำอ้อย เมื่อกวนได้ที่แล้วจะนำมาใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วตัดเป็นชิ้นๆ โรยด้วยงาขาว บ้างรับประทานกับมะพร้าวขูด
ข้าวหนุกงา ขนมไทย อาหารว่างภาคเหนือ หรือข้าวคลุกงา อาหารเหนือ ใช้งาขี้ม้อน (งาเม็ดกลมสีน้ำตาลเทา) โขลกกับเกลือ และข้าวนึ่งสุกใหม่ๆ ชาวล้านนานิยมทำข้าวหนุกงา ในช่วงฤดูหนาวเฉพาะในช่วงเช้า ซึ่งช่วงนั้นเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่
ข้าวหลาม อาหารภาคเหนือ เป็นอาหารว่างหรือขนมไทยชนิดหนึ่ง โดยที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม โดยข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น
ข้าวแคบ อาหารว่างภาคเหนือ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่มีวิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การทำข้าวแคบ เป็นการนำเอาแผ่นแป้งไปตากแดดให้แห้ง ทำให้สุกโดยปิ้งหรือทอด นิยมเก็บไว้รับประทานในงานเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่เมือง งานบวชลูกแก้ว งานปอยหลวง
ข้าวแต๋น อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวง ปัจจุบัน นิยมผสมน้ำแตงโมลงในข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ก่อนนำมากดลงพิมพ์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและความหวานอร่อย
งาตำอ้อย ขนมไทย เป็นขนมหวานของชาวไทยอง ถือขนมไทยนิยมรับประทานในฤดูหนาว มีขายทั่วไปในท้องตลาด ประมาณ 10-20 ปีก่อน ปัจจุบันหาซี้อรับประทานยาก
ถั่วต้มอ้อย ขนมไทยภาคเหนือ ขนมภาคเหนือ อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมหวานของชาวไทยอง เป็นขนมที่นิยมรับประทานในฤดูหนาว มีขายทั่วไปในท้องตลาดที่มีชาวไทยองอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับงาตำอ้อยที่ปัจจุบันหาซื้อรับประทานยาก
ผัดหมี่ขนมจีน หรือข้าวหมี่ หรือคั่วหมี่ อาหารภาคเหนือ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่ทำมาจากขนมจีน นำมาคั่วหรือผัดกับน้ำมันพืช ใส่เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ น้ำอ้อย ซีอิ้วดำ นิยมรับประทานกับผักกาดดองและแคบหมู
เหมี้ยง อาหารว่างภาคเหนือ เป็นของว่างหลังอาหารของชาวล้านนา ชาวล้านนาจะ อมเหมี้ยง เพื่อล้างปาก และลดความเผ็ดและเค็มที่ค้างในปาก เพื่อสร้างบรรยากาศในการคุยกันระหว่างคนในครอบครัวช่วงหลังอาหาร ปัจจุบันนิยมนำเหมี้ยงมาปรุงแต่งรสชาติ มีทั้งเหมี้ยงส้ม (เปรี้ยว) และเหมี้ยงหวาน หรืออีกแบบหนึ่งเรียกว่า เหมี้ยงทรงเครื่อง ประกอบด้วย มะพร้าวทึนทีกหั่นฝอยทอด ขิงสดอ่อนหั่นฝอย ถั่วลิสงคั่ว น้ำกระเทียมดอง และเกลือ
อาหารว่างภาคเหนือ อาหารภาคเหนือ
อาหารว่างภาคเหนือ อาหารภาคเหนือ อาหารทานเล่นของภาคเหนือนั้นจะเป็นประเภทของหวาน ปรุงด้วยกะทิ และแป้ง น้ำตาล หรือน้ำอ้อย อาหารว่างภาคเหนือนั้นโดยปกติมักจะทำเมื่อมีโอกาส หรือเทศการพิเศษ หรือพิธีกรรมเท่านั้น นอกจากนี้ยังนิยมเตรียมเพื่อทำบุญ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา, วันสงกานต์, งานประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ, วันพระ อาหารว่างภาคเหนือที่นิยมทำ เช่น ขนมจ๊อก, ข้าวต้มหัวงอก, ขนมลิ้นหมา, ข้าววิตู, ขนมกล้วย, ขนมศิลาอ่อน หรือซาลาอ่อน, ขนมมวง, ข้าวแต่น เป็นต้น
ขนมไทย ขนมโบราณ นั้นจะมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ โดยจะมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ โดยวิธีการทำ ที่พิถีพิถัน ซึ่งจะมีรสชาติอร่อยหอมหวาน และสีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง
ขนมไทยภาคเหนือ ตามประเพณีไทยส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ข้าวต้มหัวหงอก, ขนมเทียน และขนมวง โดยมักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่น วันเข้าพรรษา หรือวันสงกรานต์
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือ ขนมเทียนหรือขนมจ๊อก เป็นขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งจะเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกลานต้ม
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ โดยในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ที่ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ที่ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด เป็นต้น
อาหารว่างภาคเหนือ และขนมไทย หรือขนมโบราณภาคเหนือที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือ ได้แก่
กระบอง เป็นอาหารว่างภาคเหนือ หรือของกินเล่นชนิดหนึ่ง นิยมใช้ฟักทองในการปรุง นอกจากฟักทอง อาจใช้หัวปลี มะละกอ น้ำเต้าอ่อน ปลาตัวเล็ก หรือกุ้งฝอย มาทอดกับน้ำแป้งข้าวเจ้า สผมกะทิ น้ำตาล เกลือ และมะพร้าวขูด ถ้าอยากให้กระบองมีรสชาติ ใส่น้ำพริกแกงเผ็ดลงไปนิดหน่อย ของกินลักษณะนี้ ชาวไทใหญ่เรียกว่า ข่างปอง คือการนำเอาผักหลายชนิด เช่น มะละกอดิบ หอม หัวปลี หั่น แล้วคลุกเคล้ากับกะปิ พริกป่น ตะไคร้ เกลือ และแป้ง แล้วนำไปทอดกรอบ
การห่อเหมื้ยง เป็นอาหารว่างภาคเหนือ ก่อนที่นำเหมี้ยงไปรับประทาน หรือใช้เลี้ยงแขก ชาวล้านนาจะนำเหมี้ยงไปห่อใบตองก่อน โดย 1 ห่อ บรรจุเหมี้ยงพอคำ และนิยมใส่ขิงอ่อนดอง และเกลือลงไปด้วย เพื่อเพิ่มรสชาติให้แก่เหมี้ยง
ก๋วยเตี๋ยวผัด เป็นอาหารว่างภาคเหนือ หรือของกินเล่นชนิดหนึ่ง นิยมขายโดยทั่วไปในงานเทศกาล งานบุญ งานฤดูหนาว
ขนมกนน้ำอ้อย หรือเข้าหนมกนน้ำอ้อย อาหารว่างภาคเหนือ ขนมไทย มีวิธีการทำเหมือนกับขนมเกลือ มีส่วนผสมหลักคือ น้ำอ้อย และมีมะพร้าวทึนทึกขูด และน้ำใบเตย เพิ่มรสชาติให้มีความหวานมันและกลิ่นหอม
ขนมกล้วย ขนมไทย หรือเข้าหนมกล้วย อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีกล้วยน้ำว้าสุกงอม แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาลทราย นำมาคลุกเคล้าและนวดให้เข้ากัน
ขนมจ็อก หรือขนมเทียน อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมที่นิยมทำ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์มาแต่โบราณ และงานบุญต่าง ๆ บางสูตรใส่ถั่วลิสงป่น หรืองาขี้ม้อน ลงในไส้มะพร้าว หรือไส้ถั่วเขียว โดยเอาถั่วเขียวนึ่งแล้วบด นำมาผสมหรือผัดกับเครื่องปรุง มีรสเค็มนำ
ขนมตาล ขนมไทย หรือเข้าหนมบ่าตาล อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทย มีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอมมาเป็นน้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก และมีการหมักส่วนผสม หลังจากที่นวดส่วนผสมให้เข้ากันแล้ว เพื่อให้แป้งฟู น่ารับประทาน
ขนมฟักทอง ขนมไทย หรือเข้าหนมบ่าฟักแก้ว อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีฟักทองนึ่ง แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาลทราย วิธีการคล้ายกับขนมกล้วย เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้า เป็นฟักทองนึ่งแทน
ขนมมันสำปะหลัง ขนมไทย หรือเข้าหนมมันต้าง อาหารของภาคเหนือ เป็นขนมไทยที่มักพบขายทั่วไปตามท้องตลาดในภาคเหนือ ใช้มันสำปะหลังโม่ให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลและเกลือ จากนั้นนำใส่ถาดนึ่ง พอสุกจะมีสีเหลืองและเป็นแป้งใสๆ ทิ้งไว้ให้เย็น ตัดเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด
ขนมลิ้นหมา ขนมไทย อาหารประจำภาคเหนือ เป็นขนมไทยที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียวดำนวดกับน้ำจนหนืดแต่ไม่เละ เติมเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อย บ้างใช้แป้งข้าวเหนียวสีขาวนวดกับน้ำอ้อยและเกลือให้มีรสหวานๆ เค็มๆ นำมะพร้าวขูดคลุกกับน้ำตาลทราย ช่วยให้ขนมอร่อย และน่ารับประทาน
ขนมวง อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นขนมไทยที่ทำด้วยแป้งเป็นรูปวงกลมแบบเดียวกับขนมโดนัท มีน้ำอ้อยหยอดไปโดยรอบตามกึ่งกลางด้านบน ปัจจุบัน ไม่คอยมีขายในท้องตลาดในเมือง แต่มักจะพบในตลาดแถวชานเมือง
ขนมศิลาอ่อน ขนมไทย อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นขนมไทยที่ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า บ้างนิยมนำถั่วเขียวคั่วสุกบดโรยหน้าก่อนรับประทาน
ขนมเกลือ อาหารว่างภาคเหนือ หรือเข้าหนมเกลือ อาหารภาคเหนือ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีแป้งและเกลือ ถ้าชอบหวาน ให้ใส่น้ำตาล ถ้าชอบกะทิ ก็ใส่ไปด้วยก็ได้ หรืออาจโรยงาดำลงไปด้วย
ขนมเทียน หรือเข้าหนมเตียน อาหารว่างภาคเหนือ อาหารเหนือ มีวิธีการทำคล้ายขนมเกลือ แต่ขนมสุกแล้วจะมีสีน้ำตาลจากสีของน้ำอ้อย รับประทานกับมะพร้าวขูดฝอย สำหรับวิธีการห่อขนม อาจใช้วิธีห่อแบบเดียวกับขนมเกลือ
ขนมแตงไทย หรือเข้าหนมบ่าแตง เมนูอาหารเหนือ เป็นขนมไทยมีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย และขนมตาล เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอม น้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก เป็นแตงไทย
ข้าวต้มหัวหงอก ขนมไทยภาคเหนือ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งของชาวล้านนา ปัจจุบันก็ยังนิยมรับประทาน และมีขายทั่วไปในท้องตลาด
ข้าวควบ ขนมไทยภาคเหนือ หรือข้าวเกรียบว่าว อาหารเหนือ เป็นขนมพื้นบ้านที่มีมาช้านาน มีกล่าวไว้ในวรรณกรรมล้านนา เรื่อง นางอุทรา ว่า นางร้าย คือแม่เลี้ยงนางอุทรา แกล้งป่วย โดยใช้ข้าวควบวางไว้ใต้ที่นอน เมื่อขยับจะเสียงดัง ให้เข้าใจว่ากระดูกนางผิดปกติ
ข้าววิตู อาหารว่างภาคเหนือ หรือข้าวเหนียวแดง อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมไทยวิธีการทำนำข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปตั้งไฟผสมกับน้ำอ้อย เมื่อกวนได้ที่แล้วจะนำมาใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วตัดเป็นชิ้นๆ โรยด้วยงาขาว บ้างรับประทานกับมะพร้าวขูด
ข้าวหนุกงา ขนมไทย อาหารว่างภาคเหนือ หรือข้าวคลุกงา อาหารเหนือ ใช้งาขี้ม้อน (งาเม็ดกลมสีน้ำตาลเทา) โขลกกับเกลือ และข้าวนึ่งสุกใหม่ๆ ชาวล้านนานิยมทำข้าวหนุกงา ในช่วงฤดูหนาวเฉพาะในช่วงเช้า ซึ่งช่วงนั้นเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่
ข้าวหลาม อาหารภาคเหนือ เป็นอาหารว่างหรือขนมไทยชนิดหนึ่ง โดยที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม โดยข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น
ข้าวแคบ อาหารว่างภาคเหนือ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่มีวิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การทำข้าวแคบ เป็นการนำเอาแผ่นแป้งไปตากแดดให้แห้ง ทำให้สุกโดยปิ้งหรือทอด นิยมเก็บไว้รับประทานในงานเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่เมือง งานบวชลูกแก้ว งานปอยหลวง
ข้าวแต๋น อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวง ปัจจุบัน นิยมผสมน้ำแตงโมลงในข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ก่อนนำมากดลงพิมพ์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและความหวานอร่อย
งาตำอ้อย ขนมไทย เป็นขนมหวานของชาวไทยอง ถือขนมไทยนิยมรับประทานในฤดูหนาว มีขายทั่วไปในท้องตลาด ประมาณ 10-20 ปีก่อน ปัจจุบันหาซี้อรับประทานยาก
ถั่วต้มอ้อย ขนมไทยภาคเหนือ ขนมภาคเหนือ อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมหวานของชาวไทยอง เป็นขนมที่นิยมรับประทานในฤดูหนาว มีขายทั่วไปในท้องตลาดที่มีชาวไทยองอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับงาตำอ้อยที่ปัจจุบันหาซื้อรับประทานยาก
ผัดหมี่ขนมจีน หรือข้าวหมี่ หรือคั่วหมี่ อาหารภาคเหนือ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่ทำมาจากขนมจีน นำมาคั่วหรือผัดกับน้ำมันพืช ใส่เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ น้ำอ้อย ซีอิ้วดำ นิยมรับประทานกับผักกาดดองและแคบหมู
เหมี้ยง อาหารว่างภาคเหนือ เป็นของว่างหลังอาหารของชาวล้านนา ชาวล้านนาจะ อมเหมี้ยง เพื่อล้างปาก และลดความเผ็ดและเค็มที่ค้างในปาก เพื่อสร้างบรรยากาศในการคุยกันระหว่างคนในครอบครัวช่วงหลังอาหาร ปัจจุบันนิยมนำเหมี้ยงมาปรุงแต่งรสชาติ มีทั้งเหมี้ยงส้ม (เปรี้ยว) และเหมี้ยงหวาน หรืออีกแบบหนึ่งเรียกว่า เหมี้ยงทรงเครื่อง ประกอบด้วย มะพร้าวทึนทีกหั่นฝอยทอด ขิงสดอ่อนหั่นฝอย ถั่วลิสงคั่ว น้ำกระเทียมดอง และเกลือ
อาหารของภาคเหนือ นั้นจะประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ, แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว, แคบหมู และผักต่าง ๆ ซึ่งสภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น นั่นส่งผลให้การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง, แกงฮังเล, ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า และจึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค, บอน, หยวกกล้วย และผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค, แกงหยวกกล้วย และแกงบอน เป็นต้น
อาหารภาคเหนือ จะมีมากมาย โดยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างจากทุกภาค เราได้รวบรวม สูตรอาหารมากมาย หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น เมนูต้ม, เมนูผัด, เมนูแกง, เมนูทอด, เมนูนึ่ง และเมนูปิ้งย่าง หากลองนำไปทำรับประทานดูได้ อาหารเหนือทำอย่างไรให้อร่อย อาหารเหนือ มีเคล็ดลับอย่างไร
ลักษณะเด่นของอาหารเหนือ สำหรับเอกลักษณ์ของอาหารเหนือ คือ การปรุงอาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล โดยความหวานของอาหารจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผัก หรือปลา ไขมันจะได้จากน้ำมันของสัตว์ เป็นต้น อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ นั้นจะมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ ภาคเหนือของประเทศไทย โดยในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา นั้นเคยเป็นอาณาจักรแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีอาณาเขตขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า และ ลาว อาหารของชาวล้านนานั้นจึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย
อาหารของภาคเหนือ นั้นจะ กินข้าวเหนียว เป็น อาหารหลัก และ ทานคู่กับ น้ำพริก เช่น น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง และ แกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ และแกงแค เป็นต้น แต่ด้วยสภาพอากาศของทางภาคเหนือ ที่มีอากาศเย็น จึงมีลักษณะของอาหาร โดยมีความแตกต่างจากภาคอื่นๆของไทย อาหารส่วนใหญ่ของชาวเหนือ มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล และไส้อั่ว นั้นจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น พืชป่า ที่มักนำมาปรุงอาหารในอาหารเหนือ เช่น หยวกกล้วย, ผักแค, บอน และผักหวาน เป็นต้น
คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อาหารไทยภาคเหนือ ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน โดยช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า, ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก
มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม และน้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ หรือแกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง, แกงฮังเล และไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค, บอน, หยวกกล้วย และผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค, แกงหยวกกล้วย และแกงบอน เป็นต้น
อาหารไทยท้องถิ่นในภาคเหนือ 9 เมนู ที่มีความโดดเด่นและรสชาติอร่อย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นที่รู้จักดีของชาวต่างชาติเหมือน ต้มยำกุ้ง หรือมัสมั่น แต่เมนู "อาหารเหนือ" เหล่านี้ก็คุ้มค่าที่จะลิ้มลอง โดยผลสำรวจนี้เป็นของนายออสติน บุช (Austin Bush) ช่างภาพและนักเขียน ที่ได้ไปสัมผัสความอร่อยของอาหารเหนือในประเทศไทยมาแล้ว
1. ข้าวซอย อาหารเหนือ ข้าวซอยเป็นแกงที่มีลักษณะคล้ายแกงเขียวหวาน คือเป็นแกงกะทิชนิดหนึ่ง แต่มาในรูปแบบก๋วยเตี๋ยว นิยมปรุงด้วยเนื้อวัวหรือเนื้อไก่เป็นวัตถุดิบหลัก เสิร์ฟมาพร้อมกับผักดอง เป็นอาหารยอดนิยมของคนภาคเหนือ
2. ขนมจีนน้ำเงี้ยว ซึ่งจะเป็นขนมจีนที่กินกับน้ำยาที่เรียกว่า น้ำเงี้ยว เป็นแกงอย่างหนึ่งของภาคเหนือ โดยมีส่วนประกอบหลักๆ คือ กระดูกหมู พริกแกงที่ทำจากพริกแห้งทางเหนือ, มะเขือเทศ c]tเลือดหมู ปรุงแบบสไตล์บ้าน ๆ ทำได้กลิ่นอายความเป็นอาหารท้องถิ่นแท้ๆ ตามสูตรดั้งเดิมของป้าบุญศรี ชาวเมืองลำปาง
3. น้ำพริกหนุ่ม เมนูนี้เป็นอาหารไทยภาคเหนือที่เรียกว่า น้ำพริก (Dip) ที่ทำจากพริก หอมแดง กระเทียม นำทั้งหมดย่างไฟจนสุกหอม ก่อนตำเป็นน้ำพริกท้องถิ่น มักกินคู่กับผักต้มและข้าวเหนียวนึ่ง ซึ่งก็นับเป็นอาหารสุขภาพอย่างดีเลย แต่ถ้าจะให้อร่อยขึ้นไปอีก ต้องกินกับข้อไก่ทอด บอกเลยว่าอร่อยเพลินไม่สนใจแคลอรีกันเลยทีเดียว
4. ข้าวซอยน้ำหน้า อาหารเหนือ เมนูนี้เป็นเมนูข้าวซอยชนิดหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกับข้าวซอยทั่วไป คือ ข้าวซอยน้ำหน้าจะไม่ใช่แกงกะทิ ไม่มีพริกแกง แต่จะเป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำซุปใสๆ ราดด้วยหมูสับที่นำไปเคี่ยวกับถั่วเหลืองหมักและพริกแห้ง (คนภาคเหนือเรียกว่า จิ๊นคั่ว เป็นเนื้อหมูคั่วกับเครื่องแกงและถั่วเน่า)
5. ข้าวแต๋น โดยเมนูอาหารเหนือนี้รสชาติน่าสนใจสุดๆ เป็นขนมขบเคี้ยวรูปร่างกลม ๆ ที่ทำจากข้าวเหนียวที่นำไปผสมรวมกับน้ำตาล เกลือ งา และน้ำแตงโม จากนั้นนำไปตากแห้ง จากนั้นนำมาทอดจนกรอบฟู และปิดท้ายด้วยการราดน้ำตาลอ้อยบนหน้าขนม
6. ข้าวกั๊นจิ๊น เมนูอาหารภาคเหนือนี้เป็นการนำข้าวสวย, เนื้อหมูสับ, เลือดหมู และโรยน้ำมันกระเทียมเจียว โดยจากนั้นนำมาห่อรวมกันในใบตองแล้วนำไปนึ่งจนสุก รสชาติที่ได้ลองชิมนั้นเผ็ดร้อน, หอมกระเทียม และอร่อยมาก
7. จิ๊นตุ๊บ เมนูนี้ก็คือ เนื้อทุบ หรือเนื้อวัวโขลก ที่ทำจากเนื้อวัวหมักกับน้ำปลา, เครื่องเทศ และเกลือ จากนั้นแล้วนำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อน ๆ จนสุกและแห้ง จากนั้นนำมาทุบแรงๆ จนได้ยินเสียง ตุ๊บ ตุ๊บ ที่เป็นที่มาของชื่อ จิ๊นตุ๊บ
8. ลาบหมูคั่ว อาหารเหนือ ในขณะที่ภาคอีสานของไทย มีเมนูอร่อยอย่าง ลาบอีสาน ซึ่งใส่สมุนไพรหลายชนิด จะมีรสเปรี้ยว มีความหอมโดดเด่นจากข้าวคั่ว โดยเมนูลาบอีสานนี้จึงโด่งดังมากสำหรับนักชิมชาวอเมริกันในปัจจุบัน แต่เมื่อคุณได้มาลองชิม ลาบเมือง หรือเมนูลาบของทางภาคเหนือ จะรู้เลยว่ามันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่เหมือนกัน
9. หมูพันปี อาหารภาคเหนือ เมนูนี้เป็นการรวบรวมเอา เนื้อหมูสามชั้น ผักดอง และใบชาอูหลง วางทับซ้อนๆ กัน และนึ่งเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เป็นเมนูที่ได้รับอิทธิพลมาจากผู้อพยพชาวจีน ที่มาอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของไทย
อาหารภาคเหนือ อาหารพื้นบ้าน นั้นนับเป็นอาหารยอดนิยม เมนูเด็ดหลายเมนูที่มาจากภาคเหนือ ท่ามกลางหุบเขาที่มีอากาศเย็นสบาย ที่เสริฟด้วยเครื่องจิ้มประเภทต่าง ๆ มากมาย รสฉุน รับประทานกับข้าวเหนียวอุ่น ๆ โดยอาหารภาคเหนือได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านนา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนเคยได้รับการยกย่อง และขนานนามว่า ล้านนาข้าว ข้อแตกต่างระหว่างอาหารเหนือ และอาหารอีสาน นั้นคือ รสชาติอาหารภาคเหนือ จะไม่ร้อนแรง เหมือนกับคนอีสาน แต่มีรสที่อ่อนกว่า รสเค็ม และเปรี้ยว แต่ไม่ค่อยหวาน อาหารที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ข้าวซอย, แกงฮังเล และไส้อั่ว
พืชพันธุ์ที่นิยมนำมาปรุงอาหาร ได้แก่ ผักแค, บอน, หยวกกล้วย และผักหวาน โดยอาหารภาคเหนือนั้นมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน เช่น จีนฮ่อ, ไทลื้อ, ไทยใหญ่ และคนพื้นเมืองต่าง ๆ ซึ่งการปรุงอาหารก็มีหลายหลายวิธี เช่น การแกง, การส้า, การจอ, การเจียว, การปิ้น, การปิ๊ป, การหลู้ และการต่ำ โดยอาหารภาคเหนือนั้นมักทำให้สุกมาก ๆ เช่น ผัดผักก็มักจะผัดจนผักนุ่ม โดยขันโตก อีกทั้งภาคเหนือนั้นเป็นตำรับอาหารที่ทรงเสน่ห์ มีเอกลักษณ์ และมีรสชาติอร่อย ประกอบกับผักพื้นบ้าน ซึ่งโดยปกติจะประกอบไปด้วย แกงฮังเล, แกงโฮะ, แกงแค, ขนมจีนน้ำเงี้ยว และข้าวซอย เป็นต้น
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 5 เดือนที่แล้ว