





Phayao attractions
Attractions in Thailand
วันเปิดทำการ: วันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 16.00 น.
หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ เป็นสถานที่จัดแสดงงานด้านวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา โดยมีสโลแกนว่า “มาที่เดียว เที่ยวได้ทั้งจังหวัด”
หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ นี้เป็นสถานที่ของวัด โดยมีพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นผู้ให้กำเนิด และเป็นผู้อำนวยการ จัดสร้างและเปิดทำการเมือวันที่ 18 มกราคม 2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเปิดงานอย่างเป็นทางการ
1. ห้องกว๊านพะเยา เป็นห้องที่จัดแสดงประวัติกว๊านพะเยา เริ่มตั้งแต่ประวัติที่เป็นนิทานปรัมปรา กว๊านพะเยาในอดีต ตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2482 และหลังปีพ.ศ.2484 รวมถึงวิถีชีวิตการประมงในเมืองพะเยา
2. ลานศิลาจารึก เมื่อเดินออกจากห้องกว๊านพะเยาแล้วจะเข้าสู่บริเวณ ‘ลานศิลาจารึก’ สิ่งที่จะเห็นได้ชัดในมุมนี้คือ หลวงพ่อพุทธเศียร เศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ใสมัยพุทธศตวรรษที่ 20-21 ได้ค้นพบที่วัดสบร่องขุย
วัดร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สาบานของพ่อขุนงำเมือง พ่อขุนมังราย และพ่อขุนรามคำแหง(พระร่วง) เมื่อปีพ.ศ.1830 หลวงพ่่อพุทธเศียร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุดตามแบบศิลปะสกุลช่างพะเยาในยุคต้นที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย นอกจากนีัยังมีหลักศิลาจารึก
ส่วนใหญ่เป็นหลักศิลาจารึกหินทรายในช่วงศตวรรษที่ 20-22 (พ.ศ.1900-2200) ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่สามารถนำมาผูกโยงถึงระยะเวลา และเหตุการณ์ทางประวัติศาตร์อย่างชัดเจนจากการค้นพบหลักศิลาจารึกทั้งหมด 117 หลักและมากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ
3. พะเยาก่อนประวัติศาสตร์ เป็นส่วนจัดแสดงเรื่องเมืองพะเยาก่อนประวัติศาตร์ซึ่งอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคาร มีการจัดแสดงวัตถุโบราณในยุคหิน อันได้แก่เครื่องมือตั้งแต่ยุคหินกระเทาะจนถึงยุคหินขัด เช่น มีด หอก ขวาน ฯลฯ สันนิษฐานว่ามีอายุกว่า2,500-7,000 ปี ทั้งหมดจัดแสดงในห้องที่จำลองบรรยากาศคล้ายเมืองโบราณ
4. พะเยายุคต้น เน้นการเผยแพร่ประวัติพะเยาในแคว้นล้านนา หลังพระยามังรายยึดเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) และเขลางค์ (ลำปาง) พระองค์ได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ.1839 ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแคว้นล้านนา และการแสดงสถานการณ์จำลองเมื่อครั้งพระยามังรายตัดสินคดีที่พระร่วงปลอมเป็นพระยางำเมืองไปหาพระมเหสีของพระยางำเมือง
5. พะเยายุครุ่งเรือง เป็นห้องอลังการที่สุด (ทางพระพุทธศาสนา) ในบรรดาห้องทั้งหมดของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ เนื่องจากมีการจัดแสดงศิลปะและวัตถุโบราณในยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ความงดงามของห้องนี้อยู่ที่พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์ที่แตกต่างกัน 5 องค์ คือ หลวงพ่อสุโข พระเจ้าขี้อาย พระหินทรายทรงเครื่อง พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ และสุดท้าย พระพุทธรูปหินทราย ศิลปะพะเยา นอกจากนี้ก็มี ปฎิมากรรมหินทรายเมืองพะเยา พระเครื่อง และเครื่องใช้สัมฤทธิ์ต่างๆมากมาย
6. เครื่องปันดินเผาเมืองพะเยา เครื่องปั้นดินเผาเปนอีกสิ่งหนึ่งที่ขุดพบเป็นจำนวนมากในเมืองพะเยา ไม่ว่าบรรดาจาน ชาม ถ้วย หรือไห ที่ถูกค้นพบมากที่สุด หนึ่งในจำนวนเหล่านั้น คือ ไหปูรณคตะ ซึ่งเป็นไหที่ใช้บูชาหน้าพระ ถือว่าเป็นไหที่สวยงามที่สุด มีลวดลายสัตว์ป่าหิมพานต์ที่สื่อถึงหลักอภิปรัชญา
7. พะเยายุคหลัง ส่วนนี้ได้จัดแสดงเรื่องราวและวัตถุโบราณของเมืองพะเยาหลังถูกพม่ายึดครองและถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา เมื่อราวปี พ.ศ. 2101 ห้องนี้จัดแสดงสิ่งของหลากหลาย แต่ที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หัวใจและปอด ของพระประธาน ที่ถูกค้นพบในวิหารวัดหลวงราชสัณฐาน รวมถึง อัญมณีของมีค่าต่างๆ อาทิแหวน เพชรพลอย ดอกไม้ทอง ดอกไม้เงิน แผ่นเงิน แผ่นทอง ที่บรรจุไว้ในหัวใจพระปะธาน
8. กบฎเงี้ยว ส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวเงี้ยวบุกปล้นเมืองพะเยา เมื่อปี พ.ศ.2445 โดยจุดเด่นอยู่ที่เสื้อของ ปู่แสนผิว เสมอเชื้อ ผู้สมคบคิดกับกบฎเงี็ยวเข้าปล้นพะเยา เสื้อตัวดังกล่าวเป็นเสื้อที่ปู่แสนผิวสวมใส่ขณะถูกนำตัวไปประหารชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 ณ สุสานประตูท่าแป้น เมืองพะเยา
9. วิถีและภูมิปัญญา จัดแสดงเรื่องราวของบุคคลสำคัญของเมืองพะเยา ทั้งด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพะเยา
10. คนกับช้าง ห้องนี้จัดแสดงเรื่องราวของช้างในด้านต่างๆในล้านนา ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของช้าง ความเชื่อ รวมถึงคติทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมี ฟอสซิลช้าง 4 งา อายุราว 15 ล้านปี ฟอสซิลไดโนเสาร์ อายุราว130 ล้านปีและฟอสซิลของ ปู 2 ตัวที่กอดกันตายจนกลายเป็นหินอายุกว่า 3,000 ปี ที่มาของชื่อ คู่รักมหัศจรรย์ ชีวิตผูกพันธุ์อมตะ 3,000 ปี
11. คลังวัตถุโบราณ ห้องสุดท้ายเป็นห้องเก็บวัตถุโบราณที่ไม่ได้จัดเข้าเป็นหมวดหมู่ นอกจากนั้นยังประดิษฐาน หลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองคำ ผิวขององค์พระจึงออกสีดำ เป็นที่มาของชื่อ พระเจ้าองค์ดำ
3. พะเยาก่อนประวัติศาสตร์ เป็นส่วนจัดแสดงเรื่องเมืองพะเยาก่อนประวัติศาตร์ซึ่งอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคาร มีการจัดแสดงวัตถุโบราณในยุคหิน อันได้แก่เครื่องมือตั้งแต่ยุคหินกระเทาะจนถึงยุคหินขัด เช่น มีด หอก ขวาน ฯลฯ สันนิษฐานว่ามีอายุกว่า2,500-7,000 ปี ทั้งหมดจัดแสดงในห้องที่จำลองบรรยากาศคล้ายเมืองโบราณ
4. พะเยายุคต้น เน้นการเผยแพร่ประวัติพะเยาในแคว้นล้านนา หลังพระยามังรายยึดเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) และเขลางค์ (ลำปาง) พระองค์ได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ.1839 ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแคว้นล้านนา และการแสดงสถานการณ์จำลองเมื่อครั้งพระยามังรายตัดสินคดีที่พระร่วงปลอมเป็นพระยางำเมืองไปหาพระมเหสีของพระยางำเมือง
5. พะเยายุครุ่งเรือง เป็นห้องอลังการที่สุด (ทางพระพุทธศาสนา) ในบรรดาห้องทั้งหมดของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ เนื่องจากมีการจัดแสดงศิลปะและวัตถุโบราณในยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ความงดงามของห้องนี้อยู่ที่พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์ที่แตกต่างกัน 5 องค์ คือ หลวงพ่อสุโข พระเจ้าขี้อาย พระหินทรายทรงเครื่อง พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ และสุดท้าย พระพุทธรูปหินทราย ศิลปะพะเยา นอกจากนี้ก็มี ปฎิมากรรมหินทรายเมืองพะเยา พระเครื่อง และเครื่องใช้สัมฤทธิ์ต่างๆมากมาย
6. เครื่องปันดินเผาเมืองพะเยา เครื่องปั้นดินเผาเปนอีกสิ่งหนึ่งที่ขุดพบเป็นจำนวนมากในเมืองพะเยา ไม่ว่าบรรดาจาน ชาม ถ้วย หรือไห ที่ถูกค้นพบมากที่สุด หนึ่งในจำนวนเหล่านั้น คือ ไหปูรณคตะ ซึ่งเป็นไหที่ใช้บูชาหน้าพระ ถือว่าเป็นไหที่สวยงามที่สุด มีลวดลายสัตว์ป่าหิมพานต์ที่สื่อถึงหลักอภิปรัชญา
7. พะเยายุคหลัง ส่วนนี้ได้จัดแสดงเรื่องราวและวัตถุโบราณของเมืองพะเยาหลังถูกพม่ายึดครองและถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา เมื่อราวปี พ.ศ. 2101 ห้องนี้จัดแสดงสิ่งของหลากหลาย แต่ที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หัวใจและปอด ของพระประธาน ที่ถูกค้นพบในวิหารวัดหลวงราชสัณฐาน รวมถึง อัญมณีของมีค่าต่างๆ อาทิแหวน เพชรพลอย ดอกไม้ทอง ดอกไม้เงิน แผ่นเงิน แผ่นทอง ที่บรรจุไว้ในหัวใจพระปะธาน
8. กบฎเงี้ยว ส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวเงี้ยวบุกปล้นเมืองพะเยา เมื่อปี พ.ศ.2445 โดยจุดเด่นอยู่ที่เสื้อของ ปู่แสนผิว เสมอเชื้อ ผู้สมคบคิดกับกบฎเงี็ยวเข้าปล้นพะเยา เสื้อตัวดังกล่าวเป็นเสื้อที่ปู่แสนผิวสวมใส่ขณะถูกนำตัวไปประหารชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 ณ สุสานประตูท่าแป้น เมืองพะเยา
9. วิถีและภูมิปัญญา จัดแสดงเรื่องราวของบุคคลสำคัญของเมืองพะเยา ทั้งด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพะเยา
10. คนกับช้าง ห้องนี้จัดแสดงเรื่องราวของช้างในด้านต่างๆในล้านนา ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของช้าง ความเชื่อ รวมถึงคติทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมี ฟอสซิลช้าง 4 งา อายุราว 15 ล้านปี ฟอสซิลไดโนเสาร์ อายุราว130 ล้านปีและฟอสซิลของ ปู 2 ตัวที่กอดกันตายจนกลายเป็นหินอายุกว่า 3,000 ปี ที่มาของชื่อ คู่รักมหัศจรรย์ ชีวิตผูกพันธุ์อมตะ 3,000 ปี
11. คลังวัตถุโบราณ ห้องสุดท้ายเป็นห้องเก็บวัตถุโบราณที่ไม่ได้จัดเข้าเป็นหมวดหมู่ นอกจากนั้นยังประดิษฐาน หลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองคำ ผิวขององค์พระจึงออกสีดำ เป็นที่มาของชื่อ พระเจ้าองค์ดำ




Comment
Keyword (Advance) |
Facebook Fanpage