ประเพณีไทย

ประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นคิดขึ้น กำหนดขึ้นบัญญัติขึ้น โดยไม่ได้กระทำตามสัญชาตญาณ เพื่อใช้ในสังคม ของตน อีกทั้งวัฒนธรรมจะปรากฏในรูปของระบบความคิด (Thinking) การกระทำ (Doing) และการมีอยู่ (Having) ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและปรุงแต่งขึ้น

ประเพณี เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อสวัสดิภาพของมนุษย์เอง ชีวิตสังคม จะไม่สงบเรียบร้อย ถ้าไม่มีประเพณีหนุนหลัง ประเพณี ของสังคมมิใช่ เป็นสิ่งแน่นอนคงที่ตายตัวหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตรงกันข้ามประเพณี เกิดขึ้นได้และสลายตัวได้เมื่อสภาพแวดล้อมของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติกว้างขวางขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์กว้างขวางขึ้น มีการติดต่อกับสังคมอื่นมีวิธีการแตกต่างไป ความต้องการและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตสุขสบาย จำต้องแสวงหาวิธีใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเมื่อเป็นที่ยอมรับก็จะกลายเป็นประเพณี ใหม่ วิธีการเดิมหรือประเพณีเดิมก็สลายตัวไป การปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ทำให้ประเพณีเปลี่ยนแปลงได้

ประเพณีไทย

ประเพณีเป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การ แต่งกาย ภาษาวัฒนธรรมศาสนาศิลปกรรมกฎหมายคุณธรรมความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของ สังคมเชื้อชาติต่างๆกลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษา ไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติหากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำนินชีวิต ประเพณีจึง เรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวา อารามต่าง ๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และ ชี้ให้เห็นว่า ชาวไทยให้ ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล

วัฒนธรรมไทยการไหว้ มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกัน ระดับของการไหว้ไว้ 3 ระดับ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและใบหน้าเป็นตัวกำหนดตำแหน่ง ดังนี้

การไหว้

- การไหว้ระดับที่ 1 ใช้สำหรับไหว้พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ รวมถึงโบราณสถาน โบราณวัตถุทางพุทธศาสนา โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว นิ้วชี้สัมผัสส่วนบนของหน้าผาก

- การไหว้ระดับที่ 2 ใช้สำหรับไหว้ บิดา, มารดา, ปู่, ย่า, ตา, ยาย ,ครู อาจารย์ และผู้ที่มีเราเคารพนับถืออย่างสูง โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้สัมผัสระหว่างคิ้ว

- การไหว้ระดับที่ 3 ใช้สำหรับไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่มีวัยวุฒิสูงกว่าเราไม่มากนัก รวมถึงใช้แสดงความเคารพผู้ที่เสมอกันหรือเป็นเพื่อนกันได้ด้วย โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง นิ้วชี้สัมผัสบริเวณปลายจมูก

ส่วนผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ผู้เคารพย่อมได้รับการเคารพตอบ เป็นมารยาทไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยมโดยความเชื่อของคนในสังคม ต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้น ๆ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆ ฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้นมนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าจะช่วยได้พอภัยนั้นผ่านพ้นไปแล้ว มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆด้วยการทำพิธีบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ตามความเชื่อ ความรู้ของตนเมื่อ ความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม หรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์ เดียวกัน สืบต่อ ๆ กันจนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้น ๆ ประเพณี และวัฒนธรรม เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่ง อย่างเดียวกัน คือ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรงแต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มี ขึ้น แล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธีการต่างๆว่าโดยเนื้อหาของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจ ของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น ความรู้สึกความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จน เกิดความเคยชิน เรียกว่า นิสัยสังคมหรือประเพณี

ประเพณีไทย

ประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่อง และมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำผู้ใด ฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่วจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น เช่น ลูกหลานต้องเลี้ยง ดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญูจารีตประเพณีของแต่ละ สังคมนั้นย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีค่านิยมที่ยึดถือต่างกัน การนำเอาจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบ กับของคนอื่นแล้วตัดสินว่าดีหรือเลวกว่าของตนย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อของแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป

2. ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้ง โดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่าง ชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น สถาบันโรงเรียน ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่ว ๆ ไป โดย ไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคม ปฏิบัติ เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต หรือประเพณี เกี่ยวกับเทศกาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

3. ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ มีความผิดถูกเหมือน จารีตประเพณีเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึThai Traditionsร แต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น ฯลฯ เราอาจแบ่งประเภทของ ประเพณีไทยออกได้อีก 4 ประเภท คือ

o ประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตหรือประเพณีครอบครัว ได้แก่ประเพณีการเกิด ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ

o ประเพณีท้องถิ่นของชุมชนหรือประเพณีส่วนรวมตามเทศกาล ประเพณีการชักพระ ประเพณี สงกรานต์ ประเพณีงานบุญบั้งไฟ ประเพณีการรับประทานอาหาร

o ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีที่เกียวกับอาชีพ เช่น ภาคใต้ ได้แก่ การลงขันลงหิน การทำขัน และเครื่องลงยา การทำผ้าบาติก การทำโสร่งปาเต๊ะ ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการละเล่นในงานนักขัตฤกษ์ เช่น การละเล่นหนังตะลุง มโนราห์ เป็นต้น

o ประเพณีราชการ คือประเพณีที่ทางราชการเป็นผู้กำหนดขึ้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ รัฐพิธี และพระราชพิธี

ร.9

- รัฐพิธี นั้นเป็นพิธีประจำปีที่ทางราชการกำหนดขั้น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ที่ทรงพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จไปแทน พระองค์ ได้แก่ รัฐพิธีที่ระลึกวันจักรี ซึ่งจะตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นรัฐพิธีวัน พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

เรือราชพิธี

- พระราชพิธี หมายถึง พิธีที่จัดขึ้นอันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ เป็นพิธีหลวง ได้แก่ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระ นังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก

ประเพณีไทย 4 ภาค

ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เดิมวัฒนธรรมล้านนา มีศูนย์กลางที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่แบ่งการปกครองแบบนครรัฐ ซึ่งตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย

คนส่วนใหญ่เรียกว่าล้านนา เป็นดินแห่งความหลายหลายทางวัฒนธรรม และประเพณี ที่มีเสน่ห์ให้ค้นหาไม่น้อยกว่าภาคอื่น ๆ ของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความน่าหลงไหล ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว, ประวัติศาสตร์ความเป็นมา, ภาษาท้องถิ่น, การแต่งกาย, การละเล่นพื้นบ้าน, อาหารพื้นเมือง, ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ นับเป็นกิจกรรมที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน

ประเพณีภาคเหนือ
ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณีต่าง ๆ ในภาคเหนือ

- ประเพณียี่เป็ง

- ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

- ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า

- ประเพณีสลากภัต

- ประเพณีทานขันข้าว

- ประเพณีปอยส่างลอง


ประเพณีสิบสองเดือนภาคเหนือ

หากจะกล่าวถึงกลุ่มชนชาวไทยที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยนั้น มีกำเนิดความเป็นมาทางการเมืองและวัฒนธรรมร่วมกับไทยใหญ่ ลาวและชนชาวไทยในภาคกลาง ปัจจุบันชาวไทยในภาคเหนือหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไทยยวน” หรือ “คนเมือง” มีการผสมผสานทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณีมาเป็นเวลานาน มีลักษณะเด่นจากการนับถือศาสนาและเชื่อถือในจารีตประเพณีรวมทั้งการเกษตร ดังจะเห็นได้จากในแต่ละเดือนจะมีประเพณีแตกต่างกันไปซึ่งในการนับวัน เดือน ปีของชาวไทยล้านนา

ตานก๋วยสลาก

เดือนที่ 1 เดือนเกี๋ยง (ตุลาคม) มีประเพณีออกพรรษา สลากภัต (ตานก๋วยสลาก) เป็นการทำบุญแก่ญาติผู้ล่วงลับแล้วยังเป็นการทำทานสงเคราะห์แก่คนยากไร้

ยี่เป็ง

เดือนที่ 2 เดือนยี่ (พฤศจิกายน) มีประเพณีลอยกระทง (ยี่เป็ง) ทอดผ้าป่า ตั้งธรรมหลวงหรือเทศน์มหาชาติ เป็นงานประเพณีเก่าแก่ที่มีอายุย้อนไปถึงอาณาจักรล้านนาโบราณ จุดโคมลอยในเทศกาลเพื่อขับไล่ความโชคร้าย และนำโชคมาให้

ฮ้องขวัญข้าว

เดือนที่ 3 เดือนอ้าย (ธันวาคม) ฮ้องขวัญข้าว เป็นประเพณีของชาวเหนือล้านนา ตามที่ภาคอื่น ๆ เรียกกันว่า “บายศรีสู่ขวัญ” นั่นเอง เป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นมาเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจของผู้ป่วย หรือฟักฟื้นป่วยไข้ หรือ ตามเทศกาลงานวันสำคัญต่าง ๆ เป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ลูกหลานได้ตอบแทนบุญคุณ และร่วมพลังสามัคคีกันในการดำเนินงาน

ประเพณีทานข้าวใหม่

เดือนที่ 4 เดือนสี่ (มกราคม) มีประเพณีทานข้าวใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ทานหลัวพระเจ้า เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ชาวบ้านจะนำข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวแล้วเก็บไว้บนยุ้งฉางที่บ้านมานึ่งให้สุกเพื่อนำมาตักบาตร ทานขันข้าว อุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับและถือเป็นการขอขมาพระแม่โพสพก่อนจะนำมารับประทาน

ประเพณีปอยหลวง

เดือนที่ 5 เดือนห้า (กุมภาพันธ์) มีประเพณีปอยหลวง ตั้งชานหลวง เป็นการแสดงความยินดีที่ทุกคนในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างถาวรวัตถุที่เป็นประโยชน์แก่วัดและสาธารณะ รวมทั้งอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงพระคุณของท่านเหล่านั้น

ประเพณีทำบุญปอยน้อย

เดือนที่ 6 เดือนหก (มีนาคม) มีประเพณีทำบุญปอยน้อย บวชเณร ขึ้นพระธาตุ สมโภชน์พระพุทธรูป ผู้ชายที่บวชจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไปถึง 20 ปี เรียกว่า บวชพระ เพราะนิยมเรียกสามเณรทั้งหลายว่า พระ เรียกสามเณรที่มีอายุน้อยว่า พระน้อย (พระหน้อย)

สงกรานต์ภาคเหนือ

เดือนที่ 7 เดือนเจ็ด (เมษายน) มีประเพณีปีใหม่เมืองหรือสงกรานต์, ประเพณีดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่, บวชลูกแก้ว, เลี้ยงผีปู่ย่า, พิธีสู่ขวัญ และสืบชะตาบ้านเมือง

เข้าอินทขิล

เดือนที่ 8 เดือนแปด (พฤษภาคม) มีประเพณีบวชเณร วิสาขบูชา ไหว้พระธาตุ เข้าอินทขิล เสาหรือหลักหน้าประตูเมือง หรือหลักเมือง ในหนังสือตำนานเมืองเชียงใหม่เรียกว่า สะดือเมือง หรือเสาอินทขิล

ประเพณีไหว้พระธาตุ

เดือนที่ 9 เดือนเก้า (มิถุนายน) มีประเพณีไหว้พระธาตุ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานของชาวล้านนา

ประเพณีเข้าพรรษาภาคเหนือ

เดือนที่ 10 เดือนสิบ (กรกฏาคม) มีประเพณีเข้าพรรษาภาคเหนือ ชาวบ้านได้ทำบุญ ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน ของใช้ประจำวัน แก่พระเถระอาจารย์ที่ตนนับถือ

เดือนที่ 11 เดือนสิบเอ็ด (สิงหาคม) มีประเพณีตานข้าวคนเฒ่าจำศีล ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ผู้เฒ่าผู้แก่ที่หมดภาระงานทางบ้าน จะไปนอนที่วัด เพื่อประพฤติปฏิบัติถืออุโบสถศีลตลอดระยะเวลาของวัน และค่ำคืนนั้น จนกระทั่งรุ่งสางถึงจะลาอุโบสถศีลในเช้าวันรุ่งขึ้น ผู้มีฐานะดีนิยมทำบุญเลี้ยงอาหารและให้ทานจตุปัจจัยแด่ผู้ออกจากการถือศีลมาใหม่ ๆ ด้วยเชื่อว่าจะได้อานิสงส์มาก พิธีกรรมในงานแบ่งเป็นพิธีกรรมหลักและพิธีกรรมรอง โดยที่พิธีกรรมหลักจะเน้นที่การให้ทานแก่ผู้เฒ่าผู้แก่ ส่วนพิธีกรรมรอง เป็นกิจกรรมที่พ่วงเข้ามา อาทิ การทอดผ้าป่า ทำบุญสืบชาตา ฟังเทศน์ ทำบุญเลี้ยงพระหรือทำบุญบ้าน เป็นต้น เป็นสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน เป็นการให้ทานที่อบอุ่น อิ่มเอิบ ทั้งผู้ให้และผู้รับ

ประเพณีตานข้าวคนเฒ่าจำศีล

ประเพณีเข้าพรรษาภาคเหนือ

เดือนที่ 12 เดือนสิบสอง (กันยายน) มีประเพณีตานสลากภัตจาคะข้าว (อุทิศถึงผู้ตาย) เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษและญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “ก๋วยสลาก” ก๋วยสลากจะสานจากไม้ไผ่ซึ่งข้างในถูกห่อหุ้มด้วยใบขมิ้น และใบตอง ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นอีกหนึ่งประเพณีเนื่องในพุทธศาสนาที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดกับชุมชน และยังสร้างความสามัคคีในหมู่ญาติมิตรสหายอีกด้วย

ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีภาคกลาง

10 ประเพณีภาคกลางที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

ประเพณีการแสดงโขน

1. ประเพณีการแสดงโขน เป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่ของไทยที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก กำเนิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นการรวมของศิลปะหลายแขนง คือ โขนนำวิธีการเล่นและวิธีการแต่งตัว ท่าต่อสู้แบบโลดโผน ท่ารำท่าเต้นนำมาจากกระบี่กระบอง และโขนได้นำศิลปะการพากย์พูดคุย หน้าพาทย์เพลงดนตรี

ประเพณีแร่นาขวัญ

2. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในสมัยโบราณ คงจะเป็นพิธีที่มีความมุ่งหมายเพื่อบำรุงขวัญและเตือนเกษตรกรให้ปลูกพืชผลโดยเฉพาะการทำนา เพราะข้าวเป็นธัญญาหารหลักสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิต พระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศจึงเป็นผู้นำลงมือไถนาและหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นตัวอย่าง เพื่อเตือนราษฎรว่าถึงเวลาทำการเพาะปลูกแล้ว

ประเพณีรับบัว

3. ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนต่างถิ่น ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอบางพลี และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความผูกพันกับสายน้ำของชาวอำเภอบางพลีที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีตักบาตรดอกไม้

4. ประเพณีตักบาตรดอกไม้ เป็นประเพณีของชาวพุทธโดยมีความเชื่อเรื่องของการทำบุญ เป็นประเพณีประจำปีของจังหวัดสระบุรี

ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์

5. ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ พิธีการที่ถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมายาวนานนับร้อยปีของชาวนครปฐม สะท้อนความศรัทธาสามัคคี, สืบสานประเพณี, ทำนุบำรุงพุทธศาสนา, ผู้เฒ่าผู้แก่, หนุ่มสาว และลูกหลาน ส่งต่อพิธีปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่นให้คงอยู่คู่วิถีชีวิตต่อไป

ประเพณีตักบาตรพระร้อย

6. ประเพณีตักบาตรพระร้อย เป็นประเพณีตักบาตรทางน้ำในช่วงเทศกาลออกพรรษา ที่ชาวปทุมธานี โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมอญ ปฏิบัติกันมานานนับร้อยปี เป็นประเพณีที่สะท้อนวิถีชีวิต และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยที่เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาด้วยการทำบุญตักบาตรมาแต่ครั้งอดีตกาลตลอดจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีลิเกไทย

7. ประเพณีลิเกไทย เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นละครเร่ที่เจ้าภาพจ้างไปแสดงที่วัดหรือที่บ้าน ในงานประจำปี งานบวช และงานศพ หรือปลูกโรงล้อมรั้วเก็บเงินค่าเข้าชมเอง โรงลิเกเป็นเวทียกพื้นเล็กน้อย มีตั่งหรือเตียงไม้วางตรงกลางเป็นที่นั่งแสดง ข้างหลังตั่งยกพื้นสูงขึ้นเป็นที่ตั้งวงดนตรีปี่พาทย์ข้างหลังมีฉากผ้าวาดเป็นทิวทัศน์กั้นมิให้ผู้ชมเห็นหลังโรงซึ่งเป็นที่สำหรับแต่งตัว

ประเพณีเชิดหุ่นกระบอก

8. ประเพณีเชิดหุ่นกระบอก หุ่นกระบอกไทยมีกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติความเป็นมาของการเล่นแสดงหุ่นกระบอก เพื่อเป็นเครื่องมหรสพ การแสดงหุ่นกระบอกไทยในสมัยก่อนถวายเป็นมหรสพแก่กษัตริย์เชื้อพระวงศ์

ประเพณีมวยไทย

9. ประเพณีมวยไทย มวยไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมานาน เป็นทั้งการต่อสู้ป้องกันตัวและกีฬา และสมัยนี้วัยรุ่นไทย หรือแม้แต่ชาวต่างชาติก็หันมาสนใจศิลปะมวยไทยกันเยอะมากขึ้น

มวยไทย

ประเพณีตักบาตรเทโว

10. ประเพณีตักบาตรเทโว เป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์กระทำศาสนกิจเนื่องในวันออกพรรษาเวลาเช้ามืด ประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธต่างพากันทำบุญใสบาตรในช่วงเวลาดังกล่าว ถือเป็นประเพณีที่ยังสือต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีภาคอีสาน

ประเพณีภาคอีสาน

ประเพณีภาคใต้

ภาคใต้ เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะที่มีทะเลที่สมบูรณ์งดงาม มีทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีเสน่ห์ ภาคใต้จะมีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ เชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย โดยปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี, อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช, เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง

ประเพณีต่าง ๆ ในภาคใต้ เช่น ประเพณีให้ทานไฟ, ประเพณีลากพระ, ประเพณีสวดด้าน, ประเพณีแห่นางดาน, ประเพณีตักบาตรธูปเทียน, ประเพณีสารทเดือนสิบ, ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ, ประเพณีอาบน้ำคนแก่, ประเพณีกวนข้าวยาคู และประเพณียกขันหมากพระปฐม ประเพณีอื่น ๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้

ประเพณีชิงเปรต

1. ประเพณีชิงเปรต เป็นประเพณีของภาคใต้ จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว

ประเพณีมโนราห์

2. ประเพณีมโนราห์ ประเพณีนี้ยังเป็นพิธีกรรมความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นการผสมผสานกับลัทธิพราหมณ์และความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดา รวมไปถึงเซ่นไหว้บรรพบุรุษ

ประเพณีหนังตะลุง

3. ประเพณีหนังตะลุง เป็นศิลปะการแสดงของชาวไทยภาคใต้ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพชน, ศาสนา, ประเพณี, ความเชื่อ, สถาปัตยกรรม, เศรษฐกิจ, ภาษา, วรรณกรรม และการเมืองการปกครอง และอื่น ๆ จึงมีอยู่อย่างหลากหลายในการแสดงหนังตะลุงแต่ละเรื่องที่สะท้อนออกมา

ประเพณีลอยเรือ

4. ประเพณีลอยเรือ ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป

ประเพณีภาคใต้

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค

ความอร่อยของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และประเพณี เช่น

อาหารเหนือ

- อาหารภาคเหนือ อาหารจะประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ ส่วนกับข้าวก็จะหาจาก สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ไก่, หมู, เนื้อ และปลา ที่สำคัญคือผักพื้นบ้าน อันเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ การปรุงอาหารมีหลายวิธี เช่น การแกงม การจอ การส้าม การยำม การเจียวม การปี๊ปม การปี้นม การคั่วหรือการผัดม การหลู้ และการต๋ำ ซึ่งอาหารของภาคเหนือมักจะทำให้สุกมาก ๆ

อาหารภาคกลาง

- อาหารภาคกลาง อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุง รสชาติ และการตกแต่งที่แปลกตา น่ารับประทาน จึงมีความวิจิตรบรรจงประณีตที่ได้มาการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง โดยคนไทยภาคกลางกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง รสชาติอาหารภาคกลางนับได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น

อาหารภาคอีสาน

- อาหารภาคอีสาน คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย มักรับประทานได้ทุกอย่าง เนื่องจากภาคอีสาน โดยจะมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำสายใหญ่ และมีเทือกเขาสูงในบางแห่ง ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่น ๆ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานนั้นจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำมาดัดแปลงรับประทาน หรือประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำน้ำ และแมลงต่าง ๆ หลายชนิด อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว

อาหารภาคใต้

- อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยสืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งอาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ โดยอาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกง และเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้

อาหารไทย

อาหารไทย ส่วนใหญ่การปรุงจะเป็นการต้น, แกง, ตำ และยำ ซึ่งมีวิธีการปรุงอันเรียบง่าย ใช้เวลาไม่มาก แต่มีความพิถีพิถัน ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารค่อนข้างน้อย มีการใช้เนื้อสัตว์ไม่มาก โดยแหล่งโปรตีนได้จากปลา, ไข่, หมู และสัตว์อื่นๆ บางชนิดในท้องถิ่น เครื่องปรุงต่าง ๆ จะใช้สมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติ โดยที่สำคัญอาหารพื้นบ้านนานาชนิดที่หาได้ จะนำมาปรุงเป็นอาหาร หรือนำมาทำเป็นเครื่องจิ้มกับอาหารประเภทน้ำพริก หรือประเภทหลนต่าง ๆ อาหารพื้นบ้านของไทยเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่มีเส้นใยอาหารสูง มีคุณค่าทางโภชนา เช่น วิตามิน, เกลือแร่, เอนไซม์กรดไขมัน โดยมีความปลอดภัยจากสารเคมี และยังให้คุณค่าทางสมุนไพร 10 อันดับอาหารไทย 4 ภาคยอดนิยมตลอดกาลคว้ารางวัลระดับโลกได้แก่

แกงพะแนง

อันดับที่ 1 แกงพะแนง อาหารประเภทสตูว์ รสชาติดีที่สุดในโลกจาก Taste Atlas เป็นอาหารไทยประเภทแกงข้นที่เน้นรสชาติเค็ม และหวาน โดยมีส่วนผสมหลักของเครื่องแกง คือ พริก, ข่า, ตะไคร้, รากผักชี, เมล็ดผักชี เมล็ดยี่หร่า, กระเทียม, อบเชย และเกลือ ใส่เนื้อสัตว์ได้ทั้งเนื้อวัว, เนื้อหมู, เนื้อไก่ และอื่น ๆ

ข้าวซอย

อันดับที่ 2 ข้าวซอย ได้รับการโหวตจากนักชิมทั่วโลก ให้ครองอันดับ 1 ซุปที่ดีที่สุด ประจำปี 2022 TasteAtlas เว็บไซต์รวบรวมสูตรอาหารและรีวิวจากนักวิจารณ์อาหารโดยนำเสนอแผนที่อาหารทั่วโลกแบบอินเทอร์แอคทีฟ จัดอันดับ 50 Best Soups ซุปที่ดีที่สุดจากนักรีวิวทั่วโลก ผลโหวตจากนักชิมส่งเมนู “ข้าวซอย" เมนูขึ้นชื่อทางภาคเหนือของไทย คว้าอันดับ 1 มาครอง

ต้มยำกุ้ง

อันดับที่ 3 ต้มยำกุ้ง เว็บไซต์ Cnn Travel ได้คัดเลือกซุปจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก มาจัดเป็น 20 อันดับซุปที่ดีที่สุดในโลกโดยหนึ่งในนั้นมี "ต้มยำกุ้ง" เมนูชื่อดังอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย เป็นอาหารไทยภาคกลางประเภทต้มยำ ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเป็นอาหารที่รับประทานกับข้าว และมีรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลักผสมเค็มและหวานเล็กน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใส และต้มยำน้ำข้น

แกงเขียวหวาน

อันดับที่ 4 แกงเขียวหวาน ได้รับการโหวตจากนักชิมทั่วโลก ประจำปี 2023 TasteAtlas ติดอันดับ 8 สุดยอดสตูว์ และแกงทั่วโลก 100 อันดับ เป็นอาหารไทยประเภทแกง ประกอบด้วยเนื้อ, ปลา, ไก่ หรือหมู และผัก ปรุงรสด้วยกะทิ, มะเขือ, น้ำตาล, น้ำปลา, ใบมะกรูด และใบโหระพา มักนิยมรับประทานกับข้าวสวยหรือขนมจีนน้ำพริกแกงมีสีเขียวเพราะใช้พริกขี้หนูสดสีเขียว บางท้องที่ใส่ใบพริกลงไปตำด้วย ในประเทศกัมพูชามีการรับแกงเขียวหวานไป เรียกว่า ซ็อมลอกะติ โดยมีลักษณะเป็นน้ำกะทิใส ๆ โดยทั่วไปมักกินแกงเขียวหวานเป็นกับข้าวร่วมกับอาหารชนิดอื่น ๆ ในมื้อหนึ่ง ๆ หรือกินกับขนมจีนเป็นอาหารจานเดียว

แกงมัสมั่น

อันดับที่ 5 แกงมัสมั่น เว็บไซต์ของ Cnn Travel ได้จัดอันดับ 50 อาหารที่ดีที่สุดในโลก โดยในปี 2564"แกงมัสมั่น" ของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับ 1 ก่อนหน้านี้ Cnn Travel ได้จัดอันดับอาหารในปี 54 และ 60 ซึ่งแชมป์โลกก็คือ "แกงมัสมั่น" ราชาแห่งแกงกะหรี่ และอาจเป็นราชาของอาหารทั้งหมด อาหารจานนี้มีทั้งความเผ็ด ความมันของกะทิ ความคาวและความหวาน

แกงส้ม

อันดับที่ 6 แกงส้ม เมนูแกงของไทยมักปรุงโดยใช้สมุนไพรสด และใบหอมแทนการผสมเครื่องเทศ แกงที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ แกงส้ม ที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์จำพวกปลา มีรสชาติเปรี้ยวจากน้ำมะขาม ได้รับการโหวตจากนักชิมทั่วโลก ประจำปี 2023 TasteAtlas ติดอันดับ 10

ส้มตำ

อันดับที่ 7 ส้มตำ คว้าอันดับ 6 ของโลก หมวดสลัดที่ดีที่สุดในโลก จัดอันดับโดย tasteatlas ความแซ่บจัดจ้านของ ส้มตำ เมนูสตรีทฟู้ดไทยสุดเด็ด ในที่สุดก็โด่งดังไปทั่วโลก เป็นอาหารปรุงมาจากการทำตำส้ม คือการทำให้เปรี้ยว ในลาวจะเรียกว่าตำหมากหุ่ง ปรุงโดยนำมะละกอดิบที่สับแล้วฝานหรือขูดเป็นเส้นมาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่น ๆ คือ มะเขือเทศลูกเล็ก, มะเขือสีดา, มะเขือเปราะ, พริกสดหรือพริกแห้ง, ถั่วฝักยาว, กระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ, น้ำปลา และมะนาว เป็นอาหารไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ

พล่ากุ้ง

อันดับที่ 8 พล่ากุ้ง คว้าอันดับ 9 ของโลก หมวดสลัดที่ดีที่สุดในโลก จัดอันดับโดย tasteatlas เมนูอาหารไทยชาววัง พล่า หมายถึง อาหารเมนูยำที่ใช้เนื้อสด ๆ ในการทำ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว, น้ำปลา, พริก, ตะไคร้ฝอย และใบสะระแหน่ เป็นต้น เป็นหนึ่งในอาหารไทยโบราณที่ที่เป็นที่นิยมแต่ในปัจจุบัน การนิยมทานอาหารดิบนั้นลดลง เพราะผู้คนคำนึงถึงสุขอนามัยมากขึ้น พล่าจึงประยุกต์มาใช้เนื้อสัตว์แบบสุกแล้วมากขึ้น เช่น จานนี้ “พล่ากุ้ง” กุ้งสดเนื้อแน่น คลุกด้วยน้ำยำรสจัดจ้าน ถ้าได้ลองทานสักครั้งจะต้องติดใจแน่นอน

ผัดไทย

อันดับที่ 9 ผัดไทย ก็ไม่น้อยหน้า ติดอันดับ 4 เมนูอาหารยอดนิยมที่ถูกสั่งผ่านฟูดเดลิเวอรีในสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2023 เมนูเส้นที่เป็นอาหารประจำชาติไทย เป็นเมนูที่คนไทยทานเป็นกิจวัตร และเป็นเมนูที่ต่างชาติยกนิ้วให้ในความอร่อย รสชาติที่ทานง่ายทำให้ถูกปากผู้คนจากทั่วโลกได้ไม่ยาก ความอร่อยสไตล์ไทยที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผู้ที่ได้ลิ้มลองต่างหลงรัก และยกให้เป็นเมนูโปรดที่ต้องหาทาน

ข้าวเหนียมมะม่วง

อันดับที่ 10 ข้าวเหนียมมะม่วง ซีเอ็นเอ็น อินเตอร์เนชั่นแนลจัดอันดับอาหาร และขนมยอดนิยมระดับโลก โดยยกย่องให้ ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นเมนูขนมไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และเป็นเหตุผลว่า มักได้รับการเสิร์ฟอยู่บนโต๊ะคู่กับเมนูอาหารไทย จนกลายเป็นเมนูที่ใครหลายคนนึกถึงเพื่อสั่งมารับประทานกับคนรู้ใจ ครอบครัวและเพื่อนฝูง เป็นขนมพื้นถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ นิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อนเนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวมะม่วง ข้าวเหนียวมะม่วงโดยทั่วไปประกอบด้วยข้าวเหนียวมูนที่แต่งรสหวานโดยใช้น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว มูนเข้ากับกะทิ และเกลือ รูปแบบที่รับประทานในประเทศไทยนิยมใช้มะม่วงสุกซึ่งมีรสชาติหวาน

วัฒนธรรมการแต่งกาย 4 ภาค

ประเทศไทยประกอบไปด้วยภาคต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวน 4 ภาค คือ ภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค จึงทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมการแต่งกายของแต่ละกลุ่มคน นั้นจึงมีเอกลักษณ์เป็นของตน โดยภาคเหนือแต่งตัวไม่เหมือนภาคใต้ ซึ่งวัฒนธรรมจึงหมายถึงสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้น โดยสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามของกลุ่มชุมชน หรือประเทศตน จึงได้ถ่ายทอดกันไว้ เอาอย่างกันไว้ และรวมถึงผลิตผลที่ได้เรียนรู้มาจากคนสมัยก่อน โดยจะสืบต่อเป็นประเพณีกันมาตามลักษณะการดำเนินชีวิต แสดงความเป็นอยู่ภูมิประเทศ ความเชื่อ ศาสนา

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคเหนือ

การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ ของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่ง บ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลาย งดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และ เกล้าผม

ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า "เตี่ยว", "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงิน หรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงิน หรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคเหนือ

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคกลาง

ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจง กระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้น ข้าง ๆ ตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่น ยาวครึ่งแข้งห่มสไปเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคกลาง

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคอีสาน

ผู้ชายส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้นสีเข้ม ๆ ที่เรียกว่า"ม่อฮ่อม" สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า

ผู้หญิง การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน ห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้าและคอ

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคอีสาน

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคใต้

การแต่งกายของคนภาคใต้นั้นเป็นการแต่งกายที่ไม่เหมือนกับ ภาคอื่น เพราะการแต่งกายชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบ ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัดย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้คือผ้ายก เป็น ผ้าที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากแต่ชาวบ้านทั่วไป แบบเดิมนุ่งผ้า คล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง การนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือบาติกที่มีลวดลายสีสันหลากหลาย เป็นความนิยมในช่วงหลังจากการได้รับอิทธิพลของผ้ามาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งที่มีความคล้ายกับ ผ้าขาวม้าของทางภาคอีสาน ผู้ชายส่วนใหญ่จะนิยมนุ่งผ้าโสร่งแต่ผู้หญิง จะนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก ผ้าที่มีชื่อเสียงของภาคใต้คือ ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราชผ้าทอเกาะยอ ผ้าทอนาหมื่นสี ผ้าทอพุมเรียง ผ้าหางกระรอก ผ้าปาเต๊ะผ้าทอปัตตานี เป็นต้น การแต่งกายนั้นแตกต่างกัน ในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติของผู้คน อันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคใต้

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคใต้

ภาษาถิ่น 4 ภาค

ภาษาถิ่น เป็นภาษาไทยที่ใช้ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของ ประเทศไทย เป็นภาษาพื้นเมือง หรือภาษาดั้งเดิม ของคนในท้องถิ่นที่ใช้พูดจาสื่อสารกัน ซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ภาษาถิ่นมีลักษณะแตกต่างจากภาษาไทย มาตรฐานด้านเสียง ทั้งเสียงวรรณยุกต์ เสียงสระ และเสียงพยัญชนะ

ภาษาถิ่น 4 ภาค

- ภาษาถิ่นเหนือ เสียงของคำ จะลากเสียงยาว ช้า ๆ และอ่อนหวาน

- ภาษาถิ่นอีสาน ออกเสียง ค่อนข้างเร็ว หนักแน่น คำส่วนใหญ่ จะมีเสียงสูง

- ภาษาถิ่นใต้ ใช้คำสั้น ๆ ออกเสียง ห้วนและเร็ว เช่น จระเข้ เป็น เค้, ถนน เป็น หนน

- ภาษากลาง ภาษาถิ่น ใช้สื่อสารเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งมีความแตกต่างกันด้านเสียง การใช้คำ และความหมายจึงต้องมี ภาษาไทยมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสาร

ภาษาถิ่น 4 ภาค

เครื่องดนตรีไทย 4 ภาค

เครื่องดนตรีไทย 4 ภาค

1. ดนตรีพื้นเมืองบ้านภาคเหนือ เครื่องดนตรีของภาคเหนือจะแบ่งเป็นช่วงยุค ยุคแรกๆ โดยจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่าเจ้าเขา จากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนกว่า “กลอง” ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไปตามกิจกรรมหรือพิธีการที่ใช้ เช่น กลองรำมะนา, กลองยาว, กลองมองเซิง, กลองสองหน้า และตะโพนมอญ เป็นต้น

โดยจะมีเสน่ห์ และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด, สี, ตี และเป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ บวกกับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

2. ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง เครื่องดนตรีของภาคกลางมักจะประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า แบ่งได้ดังต่อไปนี้

- เครื่องดีด ได้แก่ จะเข้ และจ้องหน่อง

- เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วง และซออู้

- เครื่องตี ได้แก่ ระนาดเอก, ฆ้อง, ฉิ่ง, ฉาบ, ระนาดทุ้ม ระนาดทอง และกรับ

- เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ย และปี่

โดยจะมีเสน่ห์ และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์ และหลวง

3. ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) นั้นมีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เริ่มจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาทำเลียนสียงจากธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง ในระยะต่อมาได้ใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติมาเป่า เช่น ใบไม้, ผิวไม้ และต้นหญ้าปล้องไม้ไผ่ ทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น

โดยต่อมามีการพัฒนามาใช้หนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ, เกราะ, ระนาด, ฆ้อง, กลอง, โปง โหวด, ปี, พิณ, โปงลาง และแคน เป็นต้น

โดยจะมีเสน่ห์ และเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีอีสานคือ การนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่มีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ และอีสานกลางจะนิยมดนตรีหมอลำที่มีการเป่าแคน และดีดพิณประสานเสียงร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีบรรเลงที่ไพเราะของชาวอีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากนี้ยังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลงดนตรีเหล่านี้กันเพื่อ ความสนุกสนานครื้นเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่าง ๆ

4. ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ โดยเครื่องดนตรีภาคใต้มีลักษณะเรียบง่าย ซึ่งมีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่า นั้นจะมาจากพวกเงาะซาไก โดยที่จะใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กันตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง จากนั้นแลัวตัดปากกของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงซึ่งพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช โดยใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ

ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น กลองรำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนรา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เป็นต้น

โดยจะมีเสน่ห์ และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น

เทศกาลไทยยอดนิยม 4 ภาค

เทศกาล คือเหตุการณ์ชนิดหนึ่ง (งาน หรือกิจกรรม) ซึ่งโดยปกติจะจัดตั้งขึ้นโดยชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งความสนใจ และเฉลิมฉลองเอกลักษณ์บางอย่างของชุมชนนั้น และเทศกาลนั้น เทศกาลมักเกี่ยวข้องกับประเพณี, ความเชื่อ หรือศาสนาของชุมชน เทศกาลส่วนใหญ่มักจัดขึ้นปีละครั้ง โดยการถือเอาวันครบรอบปีของเทศกาลครั้งก่อนมาตั้งเป็นครั้งถัดไป

ประเทศไทยนั้นถือว่ามีวันหยุดราชกาลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เทศกาลนั้นมีความสำคัญสามารถผสมผสานการเฉลิมฉลองกับประเพณีท้องถิ่นได้ ประกอบกับมีความน่าดึงดูดมากเนื่องจากมีความสนุกสนาน เป็นเอกลักษณ์ และน่าตื่นเต้น ทำให้นักท่องเที่ยวปัจจุบันให้ความสนใจเป้นอย่างมากกับเทศกาลต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยเทศกาลที่สำคัญที่ได้รับความสนใจ และนิยม มีดังนี้

เทศกาลลอยกระทง

1. เทศกาลลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง, เรือ, แพ และดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป

เทศกาลวิ่งควาย

2. ประเพณีวิ่งควาย เป็นงานเทศกาลประจำจังหวัดชลบุรี จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด พักผ่อน และได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงาน และให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

เทศกาลช้าง

3. เทศกาลช้าง เทศกาลของจังหวัดสุรินทร์ ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และเป็นสัตว์สำคัญของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความซึมชับประวัติความเป็นมาที่ดีงาม ซึ่งนำเสนอโดยคนรุ่นใหม่ เพื่อชักนำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ใด้หันมาสนใจศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น

เทศกาลตรุษจีน

4. เทศกาลตรุษจีน ในประเทศไทยนั้นจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว มีการเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะในเยาวราชที่กรุงเทพมหานคร

เทศกาลแข่งเรือ

5. เทศกาลการแข่งเรือ ชุมชนคนต้นน้ำ ที่เปรียบเสมือนสายใยแห่งชีวิต น้ำ จึงมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนน่านมาแต่อดีต จากวิถีชีวิตที่งดงามเรียบง่าย และความผูกพันกับสายน้ำน่านในอดีต ชาวน่านจึงมีการแข่งเรือเพื่อเชื่อมความสามัคคีขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยเสน่ห์ของเรือเมืองน่านคือรูปลักษณ์ของเรือที่มีความโดดเด่นสวยงาม ลำตัวจะทำจากไม้ซุงทั้งท่อน มีหัวเรือทำเป็นรูปพญานาคราช ลำตัวเรือทาสีสวยสด และมีลวดลายที่สวยงาม

เทศกาลสงกรานต์

6. เทศกาลสงกรานต์ นั้นถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงามฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนไทย ซึ่งวันสงกรานต์นั้นตรงกับวันที่ 13 - 15 เมษายนของทุกปี คนไทยจะนิยมเล่นน้ำ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่, ทำบุญตักบาตร และสรงน้ำพระวันสงกรานต์

เทศกาลโคมไฟ

7. เทศกาลโคมไฟ ยี่เป็ง เป็นเทศกาลลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา นอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี ที่อยู่บนสรวง สวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต

เทศกาลลิง

8. เทศกาลลิง จัดขึ้นที่พระปรางค์สามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ขบวนแห่เมนูอาหารคาวหวาน ชนิดต่าง ๆ การเลี้ยงอาหารลิงแบบโต๊ะจีน และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม

เทศกาลกินเจ

9. เทศกาลกินเจภูเก็ต หรือในชื่อของเทศกาลถือศีลกินผัก มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในแง่ของเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน โดยเทศกาลถือศีลกินผักในภูเก็ตจะจัดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น สำหรับคนที่ยังไม่เคยมีโอกาสได้มาชมขบวนแห่ม้าทรง เรียกว่าต้องมาให้ได้เลยทีเดียว

เทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง

10. เทศกาลร่มบ่อสร้าง และหัตถกรรมสันกำแพง ที่จะจัดขึ้นในทุก ๆ ปี ณ หมู่บ้านบ่อสร้าง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศกาล ที่อยู่คู่ประเทศไทยมานาน เป็นเทศกาลที่มีสีสันและงดงามที่สุด ที่หาดูได้ยากมาก เป็นงานฝีมือท้องถิ่นที่มีความน่าสนใจและมีความคิดที่สร้างสรรค์แต่ละชิ้นงานที่ทำออกมา ซึ่งทำให้เรามีความประทับใจเมื่อได้เห็น โดยการนำร่มมาประดับการประกวดหัตถกรรม ขบวนแห่วัฒนธรรมรถประดับร่ม การนำร่มมาประดับหน้าร้านหรือมาประดับหน้าบ้าน ต่าง ๆ เป็นเอกลักษณ์ของเทศกาลนี้ และมีความพิเศษมากขึ้นในทุก ๆ ปี

เทศกาลว่าวนานาชาติ

11. เทศกาลว่าวนานาชาติ มีการแสดงว่าวมากมายหลากหลายชนิดจากประเทศไทยและต่างประเทศ ชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การเล่นว่าวในประเทศไทยนั้นได้มีมานาน ตั้งแต่สมัยโบราณโดยในแต่ละสมัยก็ได้มีการกล่าวถึงการเล่นว่าวที่แตกต่างกันไป โดยสะท้อนออกมาในเทศกาลนี้

เทศกาลหนังใหญ่วัดขนอน

12. เทศกาลหนังใหญ่วัดขนอน สืบสานการแสดงศิลปะชั้นสูงการเชิดหนังใหญ่ เอกลักษณ์อันทรงคุณค่าที่แสดงถึงอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยในด้านการออกแบบลายไทยเชิงจิตรกรรม ผสมกับช่างฝีมือแกะสลักที่ประณีต โดยนำมาแสดงทางศิลป์การละครที่เคลื่อนไหวอย่างได้ลงตัว และสนุกสนานกับกิจกรรมการจัดงานแบบย้อนยุค การออกซุ้มงานศิลปะต่างๆ

เทศกาลดอกบัวตอง

13. เทศกาลดอกบัวตอง งานเทศกาลที่บ่งบอกถึงช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังมีเทศกาลมหรสพพื้นบ้าน วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชนเผ่า รวมถึงการแสดงพื้นบ้านของคนท้องถิ่น

เทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์

14. เทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ พบกับความยิ่งใหญ่ตระการตาจากความเชื่อและความศรัทธา กับการกำเนิดภูเขาไฟ กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ ปฎิบัติธรรม ชื่นชมไฟประดับบริเวณสะพานแขวนสุดอลังการ และโชว์อื่น ๆ อีกมากมาย

เทศกาลบั้งไฟพญานาค

15. เทศกาลบั้งไฟพญานาค มีขึ้นในช่วงวันออกพรรษาของทุกปี ในจังหวัดที่ติดแม่น้ำโขง โดยเฉพาะจังหวัดหนองคาย จะมี บั้งไฟ โผล่ขึ้นมาจากกลางแม่น้ำโขงในบริเวณต่าง ๆ ในช่วงกลางคืนถึงเช้า เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของผู้ที่พบเห็น ชาวบ้านเชื่อว่าดวงไฟดังกล่าวเกิดจากพญานาคที่อาศัยอยู่ใต้แม่น้ำโขงพ่นดวงไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

เทศกาลดนตรี

16. เทศกาลดนตรีในไทย ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Creamfields Thailand, Rimpha Music Festival, เชียงใหญ่เฟส, E-san Music Festival Thailand และBig Mountain Music Festival ความมันส์ไม่แพ้ชาติใดในโลก

เทศกาลบอลลูนนานาชาติ

17. เทศกาลบอลลูนนานาชาติ มีจัดที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดชลบุรี ภายในงานจะได้พบกับบอลลูนหลากสีสันรูปทรงแปลกตา

เทศกาลผีตาโขน

18. เทศกาลผีตาโขน จังหวัดเลย เป็นงานเฉลิมฉลองที่มีเอกลักษณ์ และสีสัน การแสดงมหกรรมหน้ากากนานาชาติ การประกวดหน้ากากผีตาโขน การประกวดผีตาโขนน้อย การแสดงของชุมชนต่าง ๆ มหกรรมอาหาร การแสดงศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น การแสดงสินค้าพื้นเมือง จึงเป็นงานใหญ่ของจังหวัดเลยที่มีผู้คนมาเที่ยวชมงานอย่างมากมาย

ที่เที่ยวติดอันดับโลก 4 ภาค

10 สถานที่ท่องเที่ยวในไทยที่ติดอันดับโลก ประเทศไทยนั้นเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยม ที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอยากมาเที่ยวกันมากที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่การจัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั่วโลกมักจะมีที่เที่ยวชื่อดังในเมืองไทยติดอันดับด้วยเสมอ อีกทั้งสถานที่ท่องเที่ยวในไทยอีกหลายที่นอกจากจะติดอันดับโลกแล้ว การจัดอันดับในไทยก็ยังเป็นที่สุดอีกด้วย

จากผลสำรวจเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวระดับโลกฉบับล่าสุดของวีซ่ พบว่าประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวลำดับที่ 4 ที่น่าเดินทางไปเยือนมากที่สุดในโลก โดยประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของโลก ต่อจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอินเดีย ขณะที่เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในประเทศไทยที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกค้นหาข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุดได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่

วัดพระแก้ว

1. พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) จังหวัดกรุงเทพ ที่เที่ยวกรุงเทพ ติดอันดับ 1 ใน 10 เขตศักดิ์สิทธิ์น่าไปเยือนแห่งเอเชีย เว็บไซต์ Touropia.com เว็บไซต์ท่องเที่ยวได้จัดอันดับ 10 วัดเลื่องชื่อที่สุดในเอเชีย ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่น่าไปเยือน โดยอินเดียเป็นประเทศที่มีจำนวนวัดที่น่าไปเยือนติดอันดับมากที่สุด ส่วน “วัดพระแก้ว” วัดคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยไทยก็ได้ติดอันดับในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน วัดพระแก้ว หรือชื่อเต็มในนาม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดสำคัญที่สุดในกรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของประเทศ โดยตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ในเขตพระราชวัง โดยจะเห็นทัศนียภาพบริเวณนั้นจึงงดงามราวกับเมืองสวรรค์ รายล้อมไปด้วยผืนหญ้าสีเขียวดูสะอาดตา โดยมีจุดไฮไลท์คือ องค์พระแก้วมรกต พระพุทธรูปที่ทำจากมณีสีเขียวบริสุทธิ์เนื้อเดียวกันทั้งองค์ ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาชมความงดงามได้อย่างล้นหลาม

เยาวราช

2. ถนนเยาวราช จังหวัดกรุงเทพ มนต์เสน่ห์ของเยาวราช ขึ้นชื่อเรื่องสตรีทฟู้ดทำให้ “ถนนเยาวราช” ได้รับการยกย่องให้เป็นถนนสุดเจ๋ง ติดอันดับ 8 ของโลก ซึ่งมาจากการสำรวจของ นิตยสาร Time Out จัดอันดับ 33 ถนนที่เจ๋งที่สุดในโลก โดยสัมภาษณ์ผู้คนทั่วโลกกว่า 20,000 คน และมีผู้เชี่ยวชาญในการจัดอันดับถนนสายชั้นนำของโลก ทั้งทางด้านอาหาร ความสนุกสนาน วัฒนธรรม และชุมชน ถนนเยาวราช เป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

มหานคร สกายวอล์ค

3. มหานคร สกายวอล์ค จังหวัดกรุงเทพ แลนด์มาร์คใหม่บนตึกที่สูงที่สุดในไทย แลนด์มาร์กท่องเที่ยวระดับโลกแห่งใหม่ของประเทศไทยใจกลางกรุงเทพมหานคร จุดชมวิวชั้นดาดฟ้าแบบ 360 องศาที่สูงที่สุดในประเทศไทยที่ความสูงถึง 314 เมตร

แหลมพรมเทพ

4. แหลมพรมเทพ จังหวัดภูเก็ต เอ่ยชื่อนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักและเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยมีโอกาสมาสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับโลกที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ตแห่งนี้ เป็นแหลมที่มีหน้าผาสูงอยู่ทางใต้สุดของเกาะภูเก็ต จัดเป็นหนึ่งในจุดชมวิว ดูพระอาทิตย์ยามอัสดงที่สวยที่สุดทีหนึ่งของโลก ทัศนียภาพอันสวยงามและเต็มไปด้วยเสน่ห์ จะเห็นแหลมพรมเทพที่ทอดยาวลงไปในทะเล เกาะแก้วพิสดาร เมื่อก้มลงเล็กน้อยก็จะพบกับแนวโขดหินสีดำธรรมชาติกับคลื่นทะเลกำลังสาดซัดโขดหินจนเป็นฟองฝอย สวยงามไปอีกแบบ

เกาะพีพี

5. เกาะพีพี จังหวัดภูเก็ต เกาะสวรรค์ของคนรักทะเลที่เป็นแหล่งรวมของ ชายหาด และ จุดดำน้ำ สวยติดอันดับโลก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในหมู่เกาะสุดขึ้นชื่อที่นักท่องเที่ยวให้การขนานนามว่าเป็นหมู่เกาะที่สวยที่สุด เนื่องจากบริเวณเกาะแห่งนี้มีพื้นที่ปกคลุมท้องทะเลค่อนข้างกว้าง และยังมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลค่อนข้างดี จึงทำให้น้ำทะเลบริเวณนี้เต็มไปด้วยความใสสะอาดเหมาะสำหรับการเดินทางมานอนอาบแดด และเล่นน้ำกันได้อย่างสนุกสนาน อีกทั้งภายในเกาะยังมีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำชมปะการัง หรือแม้กระทั่งการเดินเที่ยวกับจุดชมวิวและบริเวณรอบเกาะได้อย่างสวยงามนั่นเอง

ดอยอินทนนท์

6. ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เที่ยวเชียงใหม่ ซึ่งจากเว็บท่องเที่ยวชื่อดัง "ทราเวล พลัส เลเชอร์" เว็บไซต์ท่องเที่ยวยอดนิยมได้จัดลำดับ สถานที่ท่องเที่ยวยอดเยี่ยมประจำปี 2560 จากการโหวตของบรรดานักท่องเที่ยวที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ จัดอันดับให้ ดอยอินทนนท์ อยู่ในอันดับ 3 ของโลก ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตอันดับต้น ๆ ของภาคเหนือเลยก็ว่าได้

ม่อนแจ่ม

7. ม่อนแจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิวอันดับโลก สภาพอากาศที่พักม่อนแจ่ม ชมวิวสวยสุด ๆ อลังการ ที่เย็นสบายตลอดทั้งปี จึงเหมาะแก่การเดินทางมามาสูดอากาศบริสุทธิ์สดชื่น วิถีชีวิตของชาวเขา

ถ้ำพระยานคร

8. ถ้ำพระยานคร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ในเขตของ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กลายเป็นเรื่องร้อนแรงกับสถานที่ท่องเที่ยวหัวหินแห่งนี้จาก เพจ Wa-Japan นำเสนอกระแสในทวิตเตอร์ของชาวเน็ตญี่ปุ่นว่า ตอนนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งของไทยที่คนญี่ปุ่นรีทวิตกันไปเป็นจำนวนมาก โดยกล่าวกันว่า สถานที่นี้มันช่างเหมือนโลกในเกม RPG และเหมือนโลกในอนิเมะเสียเหลือเกิน ทำให้ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากเข้ามาสัมผัสชมกับความงดงามของถ้ำพระยานคร

น้ำตกทีลอซู

9. น้ำตกทีลอซู จังหวัดตาก ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย และเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติทั่วโลก ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ ตัวน้ำตกมีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจาก ระดับน้ำทะเล 900 เมตร ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 50 0เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์

ทางรถไฟสายมรณะ

10. ทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี ที่เที่ยวกาญจนบุรี สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของโลก ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร

ป่าพรุโต๊ะแดง

11. ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ที่เที่ยวนราธิวาส ป่าพรุผืนสุดท้ายที่ยังมีความสมบูรณ์แห่งเดียวในประเทศไทยไทย เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่า และพรรณไม้ ระบบนิเวศของป่าพรุคือความน่าทึ่งของธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์ให้ทุกชีวิตล้วนมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างน่าเรียนรู้ คุณจะพบไม้ยืนต้นที่มีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกัน เป็นที่สนในสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเนื่องจากเป็นป่าพรุที่มีความอุดมสมบูรณ์ และน่าศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างมาก

ที่เที่ยวยะลา

12. กุนุงซิลิปัต จังหวัดยะลา ที่เที่ยวยะลา นับเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมาก ๆ สามารถเห็นวิวทิวทัศน์ได้ถึง 360 องศา โดยช่วงที่ชมวิวสวยที่สุดจะอยู่ที่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน สามารถเที่ยวแบบวันเดียวโดยในตอนเช้าพักที่อำเภอเบตง ซึ่งจะห่างจากจุดชมวิวเพียง 500 เมตร

ที่เที่ยวปัตตานี

13. เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่เที่ยวปัตตานี เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย และเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า “ลังกาสุกะ” หรือ “ลังยาเสียว” ตามที่มีหลักฐานปรากฏในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ โดยลักษณะของเมืองโบราณยะรัง สันนิษฐานว่า จะมีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร และเป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง ขยายตัวเชื่อมต่อกัน

Thai Tradition