หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร > ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย
บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย
ขนมไทยชาววัง ขนมโบราณ ขนมหวานไทย นั้นมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ จะมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน โดยมีสีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง ขนมไทยดั้งเดิม ขนมโบราณ นั้นจะมีส่วนผสมคือ แป้ง, กะทิ และน้ำตาล เท่านั้น
โดยในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร โดยส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาสวยงาม และมีความประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
วิธีทำขนมไทย ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งในแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน โดยแบ่งได้ดังนี้
- แป้งมัน จะทำให้เนื้อขนมเนียน, นุ่ม, เหนียว, หนืด และดูใสเป็นมัน
- แป้งข้าวเจ้า จะทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
- แป้งถั่วเขียว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
- แป้งท้าว จะทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
ขนมไทย ที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อ และลักษณะของขนมนั้น ๆ งานศิริมงคลต่าง ๆ เช่น ทำบุญวันเกิด, งานมงคลสมรส หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ โดยส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู และขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ขนมไทย จัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกัน โดยแต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย จะมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ โดยมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ
ขนมไทย นั้นอาจแบ่งได้เป็น 4 หมวดดังนี้
1. ขนมชาววัง เช่น วุ้นสังขยา, ขนมเบื้อง, วุ้นกระทิ, ขนมไข่เหี้ย, วุ้นใบเตย, ขนมลูกชุบ และขนมหม้อตาล
2. ขนมตามฤดูกาล หรือขนมชาวบ้าน เช่น มันเชื่อม, ลูกตาลเชื่อม, มะขามแช่อิ่ม, ฟักทองเชื่อม, ข้าวตัง, ถั่วเขียวต้มน้ำตาล, ขนมลืมกลืน, ข้าวเม่าบด, ขนมน้ำดอกไม้, ขนมกรวย และขนมขี้หนู เป็นต้น
3. ขนมในศาสนา และประเพณี เช่น ขนมใส่ไส้, ขนมสามงาน, ขนมโพรงแสม, ขนมเทียน, ขนมเสน่ห์จันทร์, ลอดช่อง, ข้าวเม่า, ขนมถ้วยฟู ขนมปลากริมไข่เต่า, ขนมบัวลอย, ขนมหูช้าง ,ขนมรังนก, ขนมคันหลาว และนางเล็ด เป็นต้น
4. ขนมจากต่างประเทศ เช่น ขนมฝรั่ง, ทองม้วน, ขนมสัมปันนี, ทองหยอด, ฝอยทอง, เม็ดขนุน, ทองหยิบ, สังขยาเผือก, ขนมทองเอก และขนมทองโปร่ง
ของหวานไทย หรือขนมไทย ขนมโบราณ จึงกล่าวได้ว่ามีอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า คนไทยเป็นคนมีลักษณนิสัย อย่างไร และเนื่องด้วยขนมไทยแต่ละชนิด ล้วนมีเสน่ห์มี รสชาติ ที่แตกต่างกันออกไป แต่แฝงไปด้วยความละเมียดละไม ความวิจิตรบรรจง อยู่ในรูปลักษณ์ กลิ่น รสของขนมที่สำคัญ ขนมไทยจึงแสดงให้เห็นว่าเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ ขนมธรรมดา ๆ ทำด้วยแป้ง น้ำตาล มะพร้าว เป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยสามารถดัดแปลงเป็นขนมหลายชนิด หน้าตา แตกต่างกัน ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร