คำค้น (ขั้นสูง)
     
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

ถ้ำ ถ้ำ(20)

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองกาญจนบุรี(2)

https://www.lovethailand.org/อ.ไทรโยค(6)

https://www.lovethailand.org/อ.บ่อพลอย(1)

https://www.lovethailand.org/อ.ศรีสวัสดิ์(5)

https://www.lovethailand.org/อ.ท่าม่วง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.ทองผาภูมิ(3)

https://www.lovethailand.org/อ.สังขละบุรี(2)

ถ้ำ

ถ้ำ

ถ้ำ คือโพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา หรือเป็นช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านกัดเซาะ ซึ่งมักพบตามภูเขาหินปูนหรือ ภูเขาชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์อีกด้วย
 
ประเภทของถ้ำ แบ่งตามลักษณะและทิศทาง ได้แก่ ถ้ำแนวนอน ทอดตัวยาวลึก, ถ้ำชั้น ภายในแบ่งเป็นหลายๆ ชั้น, ถ้ำแนวตั้ง ทอดตัวแนวตั้งลึกลงไปในดิน, ถ้ำแนวลาด ทอดตัวลาดเท ไม่ขนานหรือตั้งฉากกับระดับพื้น
 
ถ้ำหินปูน เกิดจากการกัดเซาะของน้ำใต้ดินและน้ำฝนจนทำให้เกิดเป็นโพรงถ้ำ
 
ถ้ำน้ำแข็ง เป็นถ้ำในแถบขั้วโลก ส่วนใหญ่เกิดจากการละลายในธารน้ำแข็ง สามารถเกิดได้ในเขตหุบเขาที่อุณหภูมิต่ำตลอดปีด้วยเช่นกัน
โพรงหินชายฝั่ง เกิดจากคลื่นทะเลที่กัดเซาะหินผาจนเกิดเป็นโพรงถ้ำ
 
ถ้ำภูเขาไฟ เกิดจากการเย็นตัวของลาวาขณะไหลทะลักออกมาจากภูเขาไฟ
 
สิ่งที่น่าสนใจในถ้ำ หินงอก ตะกอนหินปูนที่จัดตัวเป็นแท่งสูงจากพื้นถ้ำขึ้นไปหาเพดานถ้ำ เกิดจากหยดน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยเมื่อหล่นถึงพื้นถ้ำจะเกิดการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สารประกอบคาร์บอเนตเกิดการสะสมตัวและค่อยๆ สูงขึ้นจากพื้นถ้ำ
 
ตะกอนหินปูนที่จับตัวเป็นแท่งหรือแผ่นย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ เกิดจากน้ำใต้ดินที่มีหินปูนละลายอยู่หยดลงมาจากรอยแตกบนเพดานถ้ำ และเมื่อน้ำสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปก็จะทำให้เกิดสารประกอบคาร์บอเนตเริ่มสะสมตัวทีละน้อย และพอกยาวลงมาจากเพดานเรื่อยๆ โดยปกติมักมีลักษณะเป็นหลอดกลวงอยู่ตรงกลาง
 
เสาหิน ลักษณะของหินที่เป็นแท่งหรือเสายาวจากพื้นถ้ำจรดเพดานถ้ำ เกิดจากหินงอกหินย้อยมาบรรจบกัน
 
หลอดหินย้อย สารหินปูนที่จัดตัวเป็นหลอดหรือท่อย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ สารประกอบคาร์บอเนตที่เกิดจะมีการเรียงตัวของผลึกในแนวยาวและย้อยลงมาทำให้มีความยาวเพิ่มขึ้น ทำให้ดูคล้ายหลอดกลวงที่มีน้ำหยดออกมา
 
หินปูนฉาบ ตะกอนที่เกิดจากน้ำที่มีสารประกอบคาร์บอเนตไหลเป็นแผ่นบางๆ บนพื้นผิวของพื้นถ้ำ ซึ่งมักจะประกอบไปด้วยหินทราเวอร์ทีน ซึ่งเป็นอีกรูปหนึ่งของสารประกอบคาร์บอเนต
 
ม่านถ้ำ เกิดจากน้ำที่มีสารคาร์บอเนตสูงที่ไหลตามผนังที่เอียงซึ่งเกิดจากแรงตึงผิวของน้ำ เมื่อน้ำเกิดสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงทำให้เกิดการตกตะกอนของสารประกอบคาร์บอเนต มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ย้อยลงมาจากผนังถ้ำดูคล้ายม่าน บางแห่งจะมีสีน้ำตาลแดงสลับกับสีขาวหรือเหลืองอ่อนมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ม่านเบคอน สัตว์ในถ้ำแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
 
ทร็อกโลไบต์ จะอาศัยอยู่ในถ้ำตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่สามารถดำรงชีวิตนอกถ้ำได้ มักอยู่ในส่วนลึกของถ้ำ หาอาหารในถ้ำ เช่น จิ้งโกร่ง แมลงสองง่าม
 
ทร็อกโลไฟล์ ดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในถ้ำ และภายนอก เช่น แมงมุม
 
สัตว์ถ้ำชั่วคราว ปกติใช้ชีวิตอยู่นอกถ้ำ แต่มักมีพฤติกรรมเข้าๆ ออกๆ จากถ้ำบ่อยๆ เช่น ค้างคาว ผีเสื้อกลางคืน หมี
ถ้ำกระแซ

ถ้ำกระแซ
(จ.กาญจนบุรี อ.ไทรโยค)
ถ้ำดาวดึงส์

ถ้ำดาวดึงส์
(จ.กาญจนบุรี อ.ไทรโยค)
ถ้ำพระธาตุ

ถ้ำพระธาตุ
(จ.กาญจนบุรี อ.ศรีสวัสดิ์)
ถ้ำมะเดื่อ

ถ้ำมะเดื่อ
(จ.กาญจนบุรี อ.เมืองกาญจนบุรี)
ถ้ำละว้า

ถ้ำละว้า
(จ.กาญจนบุรี อ.ไทรโยค)
ถ้ำวังบาดาล

ถ้ำวังบาดาล
(จ.กาญจนบุรี อ.ไทรโยค)
ถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล

ถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล
(จ.กาญจนบุรี อ.สังขละบุรี)
ถ้ำเสาหิน

ถ้ำเสาหิน
(จ.กาญจนบุรี อ.ทองผาภูมิ)
ถ้ำนกนางแอ่น (ถ้ำเวิรลด์คัพ)

ถ้ำนกนางแอ่น (ถ้ำเวิรลด์คัพ)
(จ.กาญจนบุรี อ.ทองผาภูมิ)
ถ้ำสัตตบรรณคูหา

ถ้ำสัตตบรรณคูหา
(จ.กาญจนบุรี อ.เมืองกาญจนบุรี)
ถ้ำผาวังจันทร์

ถ้ำผาวังจันทร์
(จ.กาญจนบุรี อ.บ่อพลอย)
ถ้ำองจุ

ถ้ำองจุ
(จ.กาญจนบุรี อ.ศรีสวัสดิ์)
ถ้ำธารลอดใหญ่

ถ้ำธารลอดใหญ่
(จ.กาญจนบุรี อ.ศรีสวัสดิ์)
ถ้ำธารลอดน้อย

ถ้ำธารลอดน้อย
(จ.กาญจนบุรี อ.ศรีสวัสดิ์)
ถ้ำน้ำมุด

ถ้ำน้ำมุด
(จ.กาญจนบุรี อ.ศรีสวัสดิ์)
ถ้ำแก้วกาญจนาภิเษก

ถ้ำแก้วกาญจนาภิเษก
(จ.กาญจนบุรี อ.ท่าม่วง)
ถ้ำประไรโหนก

ถ้ำประไรโหนก
(จ.กาญจนบุรี อ.สังขละบุรี)
ถ้ำสองแปด

ถ้ำสองแปด
(จ.กาญจนบุรี อ.ทองผาภูมิ)
ถ้ำเชลย

ถ้ำเชลย
(จ.กาญจนบุรี อ.ไทรโยค)
ถ้ำบ้องตี้

ถ้ำบ้องตี้
(จ.กาญจนบุรี อ.ไทรโยค)