หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กาญจนบุรี > ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก > ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ศูนย์วัฒนธรรม เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการและจัดการแสดงต่างๆ อาทิ คอนเสิร์ต ละครเวที รวมไปถึงเป็นสถานที่จัดการประชุมต่าง ๆ
 
ประเพณี เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ
 
ประเพณีไทย ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
 
วัฒนธรรมและประเพณีไทย
วัฒนธรรม มาจากภาษาบาลีบวกกับภาษาสันสฤต ซึ่งคำว่า "วฑฺฒน" ในภาษาบาลีคือความเจริญ ส่วนคำว่า "ธรฺม" ในภาษาสันสฤตหมายถึงความดี พอเอาสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า "วฑฺฒนธมรม" หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
                 
วัฒนธรรม ตรงกับภาษาอังกฤษ คำว่า Culture หมายถึง ลักษณะการดำเนิน ชีวิตที่แสดงออกมาถึง ความเจริญงอกงาม ความมีศีลธรรม ความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันของประชาชนในชาติ เนื่องมาจากมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ภายในหมู่คณะของตน และยึดถือปฏิบัติร่วมกัน อย่างมีหลักการ
 
วัฒนธรรม คือ วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นๆ อย่างเป็นระเบียบและมีแบบแผน ซึ่งจะยึดหลักความเชื่อ ความคิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ การกระทำ จะมีเอกลักษณ์ เฉพาะของแต่ละชาติที่สร้างขึ้นมาและใช้อยู่ในหมู่ของสังคมนั้น ๆ มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
 
ประเพณี หมายถึงกฎระเบียบในการประปฏิบัติตนและ การวางระวางบุคคลในสังคมเช่นมารยาทในห้องรับประทานอาหาร ประเพณีของ ไทยนั้นให้ความสำคัญในการให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส ผู้น้อยต้องรู้จักสัมมาคารวะให้ความเคารพผู้ใหญ่ เช่น นักเรียนต้องให้ความเคารพครูบาอาจารย์
 
ประเพณีของประเทศไทย นั้นเป็นประเพณีที่ได้อิทธิพลอย่างสูงจากศาสนาพุทธ แต่อิทธิพลจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์และ การอพยพของชาวต่างชาติเช่นคนจีนก็มีอิทธิพลของประเพณีไทย ประเพณีของไทยนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่คือ ภาษา, ศิลปะ, และประเพณี
 
ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ตัวอักษรของภาษาไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในค.ศ. 1283 ตัวอักษรของภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี และสันสกฤตจากสื่อของขอมโบราณ ปัจจุบันภาษาไทยประกอบด้วยตัวอักษร สี่สิบสี่ตัว ภาษาไทยมีห้าโทนคือ : สามัญ, เอก, โท, ตรี, จัตวา ซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษ เช่นคำว่า บ่า กับบ้านั้นมีความที่แตกต่างกัน ภาษาไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างๆทั่วโลกเช่น บาลี, ขอม, มาเล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน
วัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่กำหนด แบบแผน ข้อบังคับ กฎหมาย ทำให้เกิดประเพณี ความเชื่อ ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละสังคม  อีกทั้งวัฒนธรรมยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ในกลุ่มสังคมนั้นและยังสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมอีกด้วย
 
ที่มาของวัฒนธรรมไทย สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ คนไทยจึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง" นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง เช่น  ประเพณีแข่งเรือ
 
ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น   
                    
ค่านิยม (Values) กล่าวได้ว่า "ค่านิยม" มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ "ค่านิยม" บางอย่างได้กลายมาเป็น "แกน" ของวัฒนธรรมไทยกล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ
             
การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทางหนึ่งย่อ แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก
 
ความสำคัญของวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น
 
หน้าที่ของวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปในแต่ละสังคม เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและ ให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิด 4 คน แต่ห้ามสมสู่ ระหว่าง เพศเดียว กัน อย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้าม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป
 
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว มุสลิมใช้การกล่าวสลาม เป็นต้น
 
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา  ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน 
ประเพณีไทย อารยธรรมไทย
 
ประเพณีไทย อันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา  และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น  
 
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร             
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา    
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
 
นอกจากนี้ ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป
 
เรื่องน่ารู้ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
มกราคม ฤดูเก็บเกี่ยว เดือนยี่เมื่อการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเเละนวดข้าวเสร็จสิ้นลง เกษตรกรชาวนาซึ่งทำงานหนัก เพราะต้องทำงานตรากตรำ กลางเเดดฝนอยู่ในโคลนตมเป็นเวลานานๆ เมื่อไถหว่านปักดำ จนต้นข้าวงอกงามเติบโตเเละออกรวง ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่ลงเเรงไว้ เมื่อนวดข้าวเเละเก็บข้าวขึ้นใส่ยุ้งฉางเรียบร้อยเเล้ว เสร็จสิ้น การทำงานอีกครั้งหนึ่ง ก็ร่วมกันทำบุญให้ทานเพื่อความเป็นสิริมงคล เเก่ตนเอง ครอบครัวเเละหมู่บ้าน
 
กุมภาพันธ์ เดือนมาฆะ "มาฆะ" เเปลว่า เดือน ๓ ทางจันทรคติเรียกว่า มาฆมาส หรือ มาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต วันมาฆบูชากำหนดตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกๆปี พระราชพิธีกุศลวันมาฆบูชานี้ เกิดเมื่อครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำริว่า วันเพ็ญกลางเดือน ๓ เป็นวันพระจันทร์เสวยมาฆฟกษ์ มีเหตุการณ์สำคัญยิ่ง จึงได้พระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดทำพิธีมาฆบูชาขึ้น
 
มีนาคม วันตรุษสิ้นปี พิธีทำบุญวันตรุษเดือน ๔ หรือประเพณีการทำบุญวันตรุษสิ้นปี เริ่มตั้งเเต่วันเเรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ไปจนถึง วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ รวม ๓ วัน ตรุษนี้บอกกำหนดสิ้นปี มีการทำบุญให้ทาน เพื่อระลึกถึงสังขารที่ล่วงมา ด้วยดีอีกปีเเล้ว มีการยิงปืนใหญ่ จุดประทัด ดอกไม้ไฟ ตีกลอง เคาะระฆัง เพื่อขับไล่ สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ออกจากเมือง ชาวบ้านต่างก็ทำความสะอาด เคหะสถาน เพื่อเตรียมตัวรับปีใหม่ ที่กำลังจะมาถึง
 
เมษายน รดน้ำวันสงกรานต์ ในวันเเละเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เฉพาะในเดือน ๕ เรียกว่าวันมหาสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นวัน เเละ เวลาตั้งต้นปีใหม่คือ  วันที่ ๑๓ เป็นวันต้น คือวันสงกรานต์  วันที่ ๑๔ วันกลาง  คือวันเนา เเละ วันที่ ๑๕ วันสุดท้าย คือวันเถลิงศก  วันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ผู้คนมีความ สนุกสนานกัน หลังงานเก็บเกี่ยวว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา เป็นเวลาที่ ชาวเกษตรกร ได้พักผ่อน เวลาที่จะหาความสนุกใส่ตน ก่อนที่เวลา ที่จะต้องไปทำการเพาะปลูก อีกครั้ง  ผู้คนสาดน้ำใส่กัน ซึ่งหมายถึงอวยพร ให้เเก่กัน เเละขอให้โชคดี ในปีใหม่ที่จะย่างกลายเข้ามา
 
พฤษภาคม วิสาขบูชา  "วิสาขะ" เเปลว่า เดือนที่ ๖ หรือ เรียกว่า "วิสาขมาส"  ในรัชกาลที่สอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรงโปรดเกล้าให้ทำพิธี ถวายพระพร เนื่องในวันวิสาขบูชา เป็นครั้งเเรกเมื่อ พศ 2360 (ในราชวงศ์รัตน์โกสินทร์ตอนต้น),  ซึ่งเป็นประเพณีนิยมของชาวไทย มาครั้งตั้งเเต่ในสมัยกรุงสุโขทัย ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นี้ ชาวบ้านร่วมกันประดับตกเเต่งบ้านเรือน เเละ วัดวาอาราม ด้วยโคมไฟ พู่กลิ่น พวงดอกไม้สด พวงดอกไม้เเห้ง เเละจุดเทียนสว่างไสว
 
มิถุนายน หล่อเทียนพรรษา ก่อนเข้าพรรษา ๑ เดือน ประมาณเดือน ๗ ชาวบ้านจัดการเรี่ยไรขึ้ผึ้ง เเละ ร่วมกันทำพิธีหล่อเทียน เเละ เเกะสลัก ปิดทองอย่างสวยงาม เเห่ขบวน เทียนประกวดเเข่งขันกันสนุกสนาน ในสมัยหรุงัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธี ถวายเทียนพรรษาไปตามพระอารามหลวงที่สำคัญๆ ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอด มาจนปัจจุบัน เเละ เนื่องจากเป็นเดือนที่มีผลไม้ต่างๆ ออกผลบริบูรณ์มาก จึงจัดให้มีงานบุญสลากภัต ไปถึงวันเข้าพรรษา 
 
กรกฎาคม เข้าพรรษา พรรษา เเปลว่า ฝน หรือ ฤดูฝน ฤดูเข้าพรรษาเริ่มต้นเเต่วันเเรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ราวกลางเดือนกรกฎาคมของทุก ๆ ปี จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ รวมเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกว่า ไตรมาส ตลอดเวลาเข้าพรรษานี้ ชาวบ้าน ตั้งใจละเว้นอบายมุขทั้งปวง ทำจิตใจให้ผ่องเเผ้ว เยือกเย็น เป็นการสร้าง กุศล ซึ่งพระราชพิธีกุศล เข้าพรรษาถือ เป็นพระราชพิธีเเห่งราชสำนัก  มาตั้งเเต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน 
 
สิงหาคม โกนจุก "โกนจุก" เป็นประเพณีไทยเเต่โบราณ เมื่อเด็กอายุครบเดือนได้ทำขวัญเดือน เเละโกนผมไฟ  เมื่อผมมีผมขึ้นใหม่ก็จะเอารัดจุกไว้ตรงกลางศรีษะ ทำทั้งเด็กหญิงเเละชาย, ซึ่งมีความหมายว่าเด็กที่มีผมจุกนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ก็จะได้รับความเมตตากรุณาตามสภาวะที่เป็นเด็ก เมื่อเด็กผู้หญิงอายุได้ ๑๑ ปี เเละ เด็กผู้ชาย ๑๓ ปี บิดามารดาก็จะจัดงาน เเละตัดผมจุกออก หรือ ปล่อยผมลงมา  เรียกว่า พิธีโกนจุก ซึ่งหมายความ ว่า เด็กนั้นได้เติบโตย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เเล้ว
 
กันยายน สารท  "สารท" เเปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง ประเพณีทำบุญในวันสารทนี้ กำหนดตรงสิ้นเดือน ๑๐ ชาวบ้านจะนำโภชนาหาร ทานวัตถุในพิธี เช่น ข้าวมทุปายาท ข้าวยาคู ข้าวทิพย์ กระยาสารท เเละ กล้วยไข่ ซึ่งพอดีเป็นหน้ากล้วยไข่สุก ไปตักบาตรธารณะ เสร็จเเล้วก็จะเเจกจ่าย ให้ปันกระยาสารทที่เหลือเเก่เพื่อนบ้าน พิธีสารทเป็นระยะที่ต้นข้าวออกรวง เป็นน้ำนม จึงจัดทำพิธีขึ้นเพือเป็นการรับขวัญรวงข้าว เเละ เป็นฤกษสิริมงคล เเก่ต้นข้าวในนาอีกด้วย ข้าวมทุปายาท ซึ่งทำจากข้าวที่เป็นน้ำนมข้างใน ซึ่งจำได้จากการเรียนวิชา ศาสนาพุทธ  พระพุทธเจ้าเสวยข้าวมทุปายาท ก่อนที่จะตรัสรู้ 
 
ตุลาคม เทศกาลทอดกระฐิน ประเพณีทอดกระฐินนี้ได้ถือปฏิบัติมาตั้งเเต่สมัยกรุงสุโขทัย เเละสืบทอด มาถึงปัจจุบัน ระยะเวลาที่ให้มีการทอดกระฐิน คือ ตั้งเเต่วันเเรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒  เทศกาลทอดกระฐินเป็นงานรื่นเริง ของชาวบ้านในโอกาสที่จะได้ทำบุญควบคู่ไปกับความสนุกสนาน ด้วยเป็นระยะที่หว่าน เเละ ดำข้าวเเล้ว อีกไม่ช้าก็จะเก็บได้ จึงเป็นช่วงที่ จะได้พักผ่อนก่อนงานเก็บเกี่ยว การเลือกไปทอดกระฐินที่ต่างถิ่น เพือเป็นการท่องเที่ยว เยี่ยมเยียน เเละ เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย   ซึ่งเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมได้ ไปเปิดหูเปิดตา ได้เรียนรู้จักคนใหม่ๆ เเละ ได้เที่ยวในสถานที่อื่นด้วย
 
พฤศจิกายน ลอยกระทง ลอยกระทง คือวันเพ็ญเดือน ๑๒ ฤดูน้ำหลาก อากาศปลอดโปร่งเเจ่มใส ด้วยหมดฤดูฝนเเล้ว ชาวบ้านได้ประดิษฐ์ประดอยกระทงด้วยใบตอง ตกเเต่งด้วยดอกไม้ เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ผู้คนก็เเต่งกายสวยงาม เเละนำกระทงออกไปด้วย จุดธูปเทียนในกระทงสว่างสวยงาม ลอยไปตามลำน้ำอย่างสวยงาม เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระเเม่คงคา จุดประสงค์ของประเพณีลอยกระทงก็คือ เปิดโอกาศให้ประชาชนได้นึกถึง พระคุณของน้ำ เเละขออภัย พระเเม่คงคาที่ตนได้ใช้น้ำมาตลอด ในการดำรงชีพของตน ในช่วงนี้เป็นช่วงที่อุดมสมบูรณ์ หน้าข้าว หน้าปลา จะเห็นผู้คนส่วนใหญ่พูดกันว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว หรือ มีข้าวในนา มีปลาในหนอง ชาวบ้านควรจะทำบุญให้ทาน เเละพักผ่อน สนุกสนาน กันเสียทีหนึ่ง
 
ธันวาคม ตรุษ เลี้ยง ขนมเบื้อง ขนมเบื้อง คืออาหารชนิดหนึ่งที่มีใส่ใส้ด้วยกุ้ง พิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เดือนอ้าย นับเป็นตรุษอย่างหนึ่ง เฉพาะต้องเป็น หน้าหนาว  ตรุษเลี้ยงขนมเบื้องจะต้องเป็นฤดูหนาว เป็น เวลา ที่น้ำลดมีกุ้งชุกชุม เเละ ยังเป็นฤดูที่กุ้งมีมันมากน่า จะทำขนมเบื้องไส้กุ้ง เเต่ก่อนนั้น การละเลงขนมเบื้องนี้นับเป็นคุณสมบัติที่ได้รับความนิยมชมเชยด้วย อย่างหนึ่งของหญิงสาวในความสามารถ ถึงในสมัย รัชกาลที่ ๔ ยังถือกันว่าหญิงใดละเลงขนมเบื้องได้ จีบขนมจีบได้ ปอกมะปรางริ้วได้ จีบใบพลูได้ยาว คนนั้นมีค่าถึง ๑๐ ชั่ง ในสมัยนั้น ๑๐ ชั่ง = 800 บาท, ซึ่งหมายความว่า ผู้หญิงคนนั้นมีคุญสมบัติที่ดี

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(6)

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองกาญจนบุรี(3)

https://www.lovethailand.org/อ.ทองผาภูมิ(1)

https://www.lovethailand.org/อ.สังขละบุรี(2)